กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อบรม อสม นักวิทย์ชุมชนคุ้มครองผู้บริโภค ใช้ Kahoot ในสมาร์ทโฟนประเมินความรู้ หนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพิ่มประสิทธิภาพงาน

การอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนที่กำลังดำเนินการอยู่ ในเดือน พค และ มิย 2560 นี้ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผ่านทางศูนย์วิทยาศาสตร์การ เขตต่างๆทั่วประเทศ สำนักงานสาธารณสุขสุขจังหวัดกว่า 20 จังหวัดร่วมกับ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส) คณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือสสส. ในการนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์หลายเขตเช่น ศูนย์วิทย์ เขต1 เชียงใหม่ และศูนย์วิทย์ เขต 1/1 เชียงราย และ ศูนย์วิทย์ฯเขต 9 นครราชสีมา ได้นำโปรแกรม Kahoot มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ ทั้งก่อนและหลังการอบรม โดยมีข้อคำถาม 15 ข้อเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ เรื่องหน้าต่างเตือนภัย การใช้ชุดทดสอบสารสเตียรอยด์ การใช้ชุดทดสอบปรอท ไฮโดรควิโนน และกรดวิตามินเอที่ผสมมาในเครื่องสำอางอย่างไม่ถูกต้อง พิษภัยของสารสเตียรอยด์ที่ปนมาในยาสมุนไพร สารปรอท ไฮโรควิโนนและกรดวิตามินเอที่ปนเปื้อน มาในเครื่องสำอาง บทบาทของ อสม ในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้ความรู้และเทคโนโลยีจากวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ทำให้การประเมินผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการอบรมทั้งรายบุคคลและในภาพรวม ทำได้รวดเร็ว ผู้จัดกระชุม สามารถให้ อสม ตอบคำถามไปพร้อมกัน และสามารถเฉลยคำตอบและให้ความรู้ได้ตามข้อคำถาม นำไปสู่ สิ่งที่ต้องเรียนรู้ในการปฏิบัติ ทำให้ อสม สามารถปรับปรุงตนเองในการทดสอบหลังการอบรม

การอบรมโดยทั่วไปมักจะขาดการประเมินผลการอบรม เพื่อทราบว่า ผู้เรียนได้รับความรู้ก่อนและหลังการอบรมมากน้อยเพียงใด หลักการที่เรียกว่า OLE หรือ Objective (วัตถุประสงค์) Learning (การเรียนรู้) และ Evaluation (การประเมินผล) จึงไม่ครบถ้วน โปรแกรม Kahoot ออกแบบให้สามารถตอบคำถามเพื่อการประเมินผลภายหลังการอบรม

การใช้โปรแกรม Kahoot สามารถให้ อสม ตอบคำถามผ่านในโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน และเปิดเข้าสู่โปรแกรมออนไลน์โดยมีการให้รหัสไปเพื่อให้ทุกคนเข้าไปในโปรแกรมซึ่งสามารถทำได้ในเวลาไม่นานนัก

การดำเนินการในหลายจังหวัดพบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนสามารถดำเนินการได้ถึง 8 ใน 10 คน ส่วนคนที่ใช้โปรแกรมไม่ได้ หรือไม่มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ก็สามารถให้ทำแบบทดสอบในกระดาษได้ อย่างไรก็ตามพบว่ายังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับ Wifi (ไวฟาย) ที่หลายพื้นที่ยังไม่มีคลื่นที่แรงพอสำหรับผู้เข้าประชุม โดยเฉพาะในการประชุมที่มีจำนวนผู้เข้ารับการอบรมเป็นจำนวนมาก หรือในพื้นที่ปิด

ดังนั้นหากผู้จัดอบรมจะเตรียมการใช้วิธีประเมินผลจากสมาร์ทโฟนโดยให้เข้าสู่ระบบออนไลน์จำเป็นต้องสำรวจห้องประชุมและเตรียมการให้พร้อมเกี่ยวกับ Wifi (ไวฟาย) ที่จะรองรับการดำเนินการออนไลน์ ก่อนที่จะใช้โปรแกรม Kahoot ในการอบรม ผู้ที่สนใจการใช้โปรแกรม Kahoot สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจาก อินเตอร์เน็ต โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ในการอบรมที่ใช้โปรแกรม Kahoot ได้นั้นต้องขอขอบคุณศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขตต่างๆที่ริเริ่มมีการพัฒนาการประเมินผลโดยการนำโปรแกรมนี้มาใช้ ถือได้ว่า การดำเนินการนี้เป็นการตอบสนองนโยบายที่ให้นำเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้ในการดำเนินงาน หรือนโยบายไทยแลนด์ 4.0

รายงานโดยศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพคณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย