ปฐกถา บทบาทและความสำคัญของผู้มีความรู้ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพต่อสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรวิทยา กุลสมบูรณ์

ประธานมูลนิธิเภสัชชนบท และ กรรมการอำนวยการ

วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรม

ในพิธีมอบหนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรม

วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2561

ณ ห้องประชุม 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

รศ.ดร.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์

ท่านอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.มงคล ณ สงขลา

ท่านนายกสภาเภสัชกรรม

กรรมการอำนวยการ กรรมการบริหาร และ

สมาชิก วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ สภาเภสัชกรรม

ท่านแขกผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่าน

 

วันนี้เป็นวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2561 เป็นวันที่จะอยู่ในความทรงจำของทุกท่านที่มาร่วมในพิธีอันทรงเกียรติ โดยเฉพาะสมาชิกวิทยาลัยฯ ที่จะได้รับหนังสืออมุมัติ ในวันนี้

ในวาระสาคัญนี้ มีความสาคัญที่เป็นมงคล คือ สิ่งที่นาไปสู่ความดี อย่างน้อย 3 ประการ หรือ อาจเรียกได้ว่า เป็น “ไตรมงคล” ประกอบด้วย (1) คณะมงคล (2) ปูชนียมงคล (3) บุคคลมงคล

 มงคลประการแรก ที่เรียกว่า คณะมงคล ก็คือ การที่ วิทยาลัยฯ ได้มีคณะกรรมการอานวยการ วิทยาลัยเป็นคณะแรกที่ได้มีการประชุมหารือเกี่ยวกับกิจการของ วคบท. ถือได้ว่าเป็นการสถาปนาเจดีย์ที่สมบูรณ์ อันประกอบด้วยฐานเจดีย์ คือ สมาชิก วคบท. กลางเจดีย์ คือ กรรมการบริหาร และ ยอดเจดีย์ คือ กรรมการอานวยการ คุณูปการนี้ต้องชื่นชมสภาเภสัชกรรม โดยเฉพาะ ท่านนายกสภาเภสัชกรรม ที่ท่านได้อุปถัมภ์เกื้อหนุนให้ภารกิจตามข้อบังคับของวิทยาลัยในการต่อยอดเจดีย์เสร็จสมบูรณ์

 มงคลประการที่สอง คือ ปูชนียมงคล ข้อบังคับของวิทยาลัยได้นำมาสู่ การดำเนินการเสนอชื่อสมาชิกกิตติมศักดิ์ที่ทรงไว้ซึ่งองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและมีคุณปการต่อวิทยาลัย สมาชิกกิตติมศักดิ์ทั้งสองท่าน ทั้งอาจารย์สำลี ใจดี และ อาจารย์จิราพร ลิ้มปานานนท์ เป็นปูชนียบุคคลของ วคบท. โดยแท้ ภูมิประวัติ และ เกียรติประวัติ ในการทำงานของท่านทั้งสองทั้งด้านการปกป้อง คุ้มครอง “เภสัชสิทธิ” และ การกำจัด ป้องกัน “เภสัชภัย” เป็นที่ประจักษ์ การที่ท่านทั้งสองได้ตอบรับการเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของ วคบท. จึงเป็นเกียรติอย่างสูงยิ่งของวิทยาลัยฯ

 มงคลประการที่สาม คือ บุคคลมงคล ที่ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์แห่งนี้ เมื่อวันอังคารที่ 16 มกราคม ที่ผ่านมา สภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มอบรางวัล อาจารย์แบบอย่างของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 ท่าน หนึ่งในนั้นคือ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ  ผศ.ภญ.ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ โดย สภาคณาจารย์ได้ให้รางวัล แก่ อาจารย์วรรณา เป็นอาจารย์แบบอย่าง ในสาขารับใช้สังคม มีการคัดเลือกจากอาจารย์ จำนวนกว่าร้อยคนได้มา 2 คน จาก 2 สาขา ใน 4 สาขา ท่านนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ปรารภว่า ผลงานของอาจารย์ เป็นการยืนยันถึงเกียรติภูมิจุฬาฯในการรับใช้สังคม

“ไตรมงคล” ที่ได้กล่าวถึงนี้จึงเป็น “วัตถุมงคล” ที่เป็น อิทธิปัจจัย หรือ ปัจจัยที่จะนามาสู่ความสาเร็จของ วคบท. ในการสืบสานภารกิจการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพของสังคมไทย

หัวข้อการบรรยายในวันนี้ ได้ระบุถึงบทบาทของผู้สาเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ “ต่อสังคม” คำว่า “ต่อสังคม” ที่ต่อท้ายมีความหมายอย่างมาก  ทุกวันนี้ องค์กรทั้งหลายต่างแสดงตนที่จะมีบทบาทต่อสังคม เช่น ภาคธุรกิจก็ประกาศว่าจะมี “ความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ Corporated Social Responsibility (CSR)”  ภาควิชาการ ในส่วนของมหาวิทยาลัย ประกาศว่าจะดำเนินการ “พันธกิจเพื่อสังคม หรือ University Social Engagement (USE)” จึงถือได้ว่าความพยายามในการทำงานเพื่อสังคม เป็นกระแสที่ฝ่ายต่างๆให้ความสำคัญ ทั้งนี้หากกล่าวถึงบทบาทต่อขอบเขตปัญหาที่สังคมเผชิญอยู่ทุกด้านแล้ว ในกำหนดเวลาที่มีอยู่ในวันนี้ คงไม่สามารถครอบคลุมได้ทั้งหมด

แม้แต่ที่กำลังจะพูดถึงบทบาทของเภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภค ต่อ “เภสัชสิทธิ” และ “เภสัชภัย” เพียงบทบาทต่อสองภารกิจสาคัญดังกล่าวนี้ ก็ยากที่จะครอบคลุมภายในเวลาได้อย่างครบถ้วน

“อาจารย์ ดร.ภญ.กฤษณา ไกรสินธุ์” ก็ดี “นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงษ์” ก็ดี เป็นตัวอย่างของบุคคลสาคัญที่ได้อุทิศตน ปกป้องคุ้มครอง “เภสัชสิทธิ” คือ สิทธิในการเข้าถึงยาของกลุ่มบุคคลที่เสียเปรียบ ขาดโอกาส จากความเหลื่อมล้าในสังคม แน่นอนว่า ไม่เพียง เภสัชกร และ แพทย์ สองท่านนี้เท่านั้น แม้แต่บุคคลธรรมดาอย่าง “คุณบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์” อดีตนายกเทศมนตรีเมืองกาญจบุรี เจ้าของรถเมล์บุญผ่อง ซึ่งอดีต ท่านเคยเป็นเจ้าของร้านบุญผ่องแอนบราเดอร์ ที่กาญจนบุรี ที่ได้เสี่ยงชีวิต โดยไม่กลัวภัยที่จะนาไปสู่ความตาย เพราะความมีมนุษยธรรมในหัวใจ ทำให้เชลยศึกสัมพันธมิตร ที่เป็นแรงงานสร้างสะพานมรณะข้ามแม่น้าแควได้รับยารักษาโรคต่างๆ จนรอดชีวิตและต่อมายังได้กลับมาตอบแทนบุญคุณของคุณบุญผ่อง จนบัดนี้ยังมีทุนให้นักเรียนแพทย์ไปเรียนต่อที่ประเทศออสเตรเลีย บุคคลเหล่านี้จึงเป็นผู้ที่เห็นแก่ชีวิตของเพื่อนมนุษย์มากกว่าชีวิตของตนเอง ไม่กลัวความตาย ในห้องประชุมอันทรงเกียรตินี้ ผมคงไม่อาจที่จะไม่กล่าวถึงท่านอาจารย์มงคล ณ สงขลา คุณหมอชนบทขี่ม้าแกลบ ผู้นำการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยบรรลุการประกาศบังคับในสิทธิ (Compulsory Licensing หรือ CL) ทำให้ประชาชนไทยเข้าถึงยา ได้รับ “เภสัชสิทธิ” ตามภารกิจคุ้มครองผู้บริโภคที่ต้องปกป้องสิทธิในการเข้าถึงยาที่จาเป็นที่จะยังชีวิตของประชาชน

ผมมีความเห็นว่า บทบาทในการพิทักษ์ ปกป้อง คุ้มครอง เภสัชสิทธิ ของประชาชน เป็น ภารกิจหน้าที่ของเภสัชกรที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่สำคัญยิ่งประการหนึ่ง

กล่าวสำหรับ “เภสัชภัย” เป็นภัยเชิงประจักษ์ จากมนุษย์เห็นแก่ตัว ที่ได้สร้างขึ้น และ ปัจจุบันมีพัฒนาการที่หลากหลายกว้างขวาง ทันสมัยมากขึ้นเป็นลำดับ

จาก ยุค 1.0 ที่ เภสัชภัย ปรากฎ เป็นยาชุด ยาซอง ยาฟินิลบิวตาโซน ยาไดพัยโรน ยาเตตร้า ยาคลอแรม กระจายตามหมู่บ้าน ส่งเสริมการขายด้วยการฉายหนังขายยา

มาเป็นยุค 2.0 ที่เริ่มกระจายขายทั่วไปอย่างกว้างขวางมากขึ้น ในร้านชา เริ่มมีรถมาส่งยา และมีรถเร่มาขายยาในหมู่บ้าน พัฒนารูปแบบยาผสมเสตียรอยด์แก้ปวด

ในยุค 3.0 ที่อาศัยสื่อ On air ทั้งวิทยุชุมชน เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม ส่งเสริมการขายยา ยาแก้ปวด สมุนไพร อาหารเสริมและสารพัดยา On air กันอย่างกว้างขวาง

ปัจจุบัน ถึงยุค 4.0 ที่ “เภสัชภัย” กระจายอย่างเข้มข้น ในรูปแบบ On line ทั้งการพัฒนาในรูปแบบยาผิดกฎหมายนานาชนิด เช่น การนายาเสตียรอยด์ใส่ใน อาหารเสริม ยาสมุนไพร เพื่อแก้ปวด เอายา Sibutramine ใส่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อลดความอ้วน เอายา Sildenafil ใส่ผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อกระตุ้นทางเพศ ไม่นับรวม อาหาร น้ำผลไม้ ยาสมุนไพร เครื่องสำอาง ชนิดต่างๆ ที่มีโทษแอบแฝง ขายตรง และอาศัยการโฆษณา On line และ On air ปลุกระดม หลอกลวงในรูปแบบต่างๆ

มีข้อสังเกตว่า การเสียชีวิต การป่วย และ การพิการ จากสาเหตุของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังเป็น Unseen hazard หรือ ภัยบดบัง ภัยที่มองไม่เห็น มีอุบัติการณ์ที่ออกตามสื่อเกี่ยวกับการเสียชีวิตเป็นครั้งคราว มีข่าวสารจับกุมทยอยออกมา จากผลปฏิบัติการของกลุ่มเภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภค แต่ปัญหาเภสัชภัยที่เผชิญอยู่อาจยังไม่ถูกกำจัดและป้องกันได้ตามคาดหวังทั้งหมด จนเกิดความกังวลว่าอาจจะกลายไปเป็นความผิดปกติแบบใหม่ หรือ New normal ที่ สังคมต้องพบเจอบ่อยๆ จนเคยชินและรู้สึกว่าเป็นธรรมดา และแก้ปัญหาไม่ได้

ภายใต้ความกังวลเหล่านี้ อาจสังเกตได้ว่ามีปรากฏการณ์ที่บ่งชึ้ถึงความก้าวหน้าในการต่อสู้กับปัญหาหลายประการ ได้แก่

(1) ความยอมรับ จะเห็นได้ว่ามีการยอมรับบทบาทด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในวิชาชีพเภสัชกรรมเพิ่มมากขึ้น คำว่า “การคุ้มครองผู้บริโภค” ปรากฏในนิยามวิชาชีพเภสัชกรรม ตามที่มีอยู่ใน พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม ในปัจจุบัน พัฒนาการของ วคบท. ในขณะนี้ ได้เติบโต สมบูรณ์ ตามข้อบังคับ ของ วคบท. ที่ได้กำหนดไว้ กล่าวคือ มี กรรมการอำนวยการ กรรมการบริหาร สมาชิกกิตติมศักดิ์ สมาชิก วคบท. ทั้งนี้ สภาเภสัชกรรม ได้เห็นชอบ ประกาศเงื่อนไขและข้อจากัดในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาต่างๆ รวมทั้งสาขาการคุ้มครองผู้บริโภค วคบท. มีจำนวนสมาชิก และ ผู้ที่ได้รับหนังสืออนุมัติ ในจำนวนเพิ่มมากขึ้น และคงจะถึงหนึ่งร้อยคนในปีต่อไป

ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ วคบท. ในปีนี้ ได้มีข้อเสนอให้พิจารณาว่า จำนวนสมาชิกที่ได้รับหนังสืออนุมัติแต่ละปีประมาณ 20 คน จะสามารถเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นได้หรือไม่ เพื่อรองรับปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคที่ขยายตัว เช่น การลดเงื่อนไขของผู้สมัครที่ต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 10 ปี โดยให้ลดเวลาลง เพื่อจะได้มีผู้สมัครเข้าเรียนที่มีอายุน้อย และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น

(2) ภาวะคุกคาม มีความพยายามในการฟ้องร้องผู้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ ตลอดจนมีการคุกคามข่มขู่ผู้ปฏิบัติงานในลักษณะต่างๆ เพื่อให้เกิดความหวั่นไหวในการทางาน ถือเป็นความท้าทายของพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ได้ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง ในการปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นโอกาสที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสมในการดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย หากมีการปฏิบัติที่รอบคอบ ถูกต้อง แล้วจะเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่ความสาเร็จ ขอชมเชยและให้กำลังใจแก่เภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภคที่ตั้งใจปฏิบัติงานในภาวะคุกคาม ซึ่ง เชื่อมั่นได้ว่า วคบท. จะเป็นองค์กรที่หนุนเสริมความถูกต้องทางวิชาการในการสนับสนุนส่งเสริมการปฏิบัติงานของเภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเต็มที่

(3) การขยายภารกิจ เพื่อให้ การกำจัด และป้องกัน “เภสัชภัย” กว้างขวางขึ้น เภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภคได้มีบทบาทภารกิจการทางานที่กว้างขวางในภัยต่างๆจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ไม่เพียง

ปัญหาหรือภัยจากยาเท่านั้น แต่ขอบเขตยังกว้างขวางไปสู่ กลุ่มผู้บริโภคอาหาร เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน เด็กเล็ก หรือ แม้แต่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาหารปนเปื้อนจากสารพิษ เช่น กรณีน้ำมันทอดซ้า อาหารที่ได้จากวัตถุดิบที่ปนเปื้อนสารเคมีที่มีพิษทางการเกษตร สารพิษแร่ใยหินในวัสดุก่อสร้างที่มีผลต่อผู้ใช้แรงงาน สารบีพีเอที่อยู่ในขวดนม เครื่องสำอางอันตราย วัตถุมีพิษที่ขาดการควบคุมที่เหมาะสม ตลอดจนถึงการดำเนินการแก้ปัญหาการโฆษณาทั้งจาก ทีวี วิทยุ ที่เรียกว่า ออนแอร์ และทางอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่าออนไลน์ และการขายตรง เป็นต้น

ปัญหาที่รุนแรงและการขยายตัวที่มีมากขึ้น อาจมีเกินกว่าปรากฏการก้าวหน้าที่ได้กล่าวถึง ได้แก่ การยอมรับบทบาทเภสัชกรสาขาคุ้มครองผู้บริโภค ความพยายามที่แข็งขันในการต่อสู้กับภาวะคุกคาม และ การขยายบทบาทภารกิจที่กว้างขวางมากขึ้น จึงจำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาความเชี่ยวชาญของเภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภค ในการสร้างองค์ความรู้สำคัญที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีแนวทางการปฏิบัติงานที่นำไปสู่ความสาเร็จ ทำให้บทบาทและความสำคัญของผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพมีผลประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม เพิ่มมากยิ่งขึ้น

การที่จะทำให้ องค์ความรู้ด้านวิชาชีพ ของ วคบท. ในห้าวิชา หรือ “ปัญจวิทยา” ประกอบด้วย ระบาดวิทยา ความเสี่ยงวิทยา ชุมชนวิทยา นโยบายวิทยา และนิติวิทยา มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น คงต้องอาศัยความร่วมมือจากสมาชิกทั้งมวลที่จะสร้างปัญญารวมหมู่ หรือ ปัญญากลุ่ม (Collective wisdom) ประสานกับการเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติ (Learning through action) เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้รับมา สร้างเป็นหลักปฏิบัติที่มีหลักฐานทางวิชาการรองรับ ทำให้เกิดความยั่งยืนทางวิชาการต่อไป

ในฐานะสมาชิก วคบท.ท่านหนึ่ง ขอถือโอกาสนี้ ให้กำลังใจพวกเราที่เป็นสมาชิกด้วยกัน รวมทั้ง ถือโอกาสขอพร จากผู้อาวุโส ท่านสมาชิกกิตติมศักดิ์ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้มีเกียรติ ที่เป็นกัลยาณมิตร ณ ที่นี้ อำนวยพรให้พวกเราสามารถนา “ปัญจวิทยา” ให้เป็น “ปัญจพล” ที่ เป็นพลังต่อสู้กับปัญหา นาพาไปสู่ “อิทธิ-พละ” หรือ อิทธิพล ที่จะเป็น พลังที่จะนาสู่ความสาเร็จ เอาชนะ บรรดา “อิทธิ-พาล” ทั้งหลายที่เอาเปรียบ ก่อ “เภสัชภัย” และแสวงประโยชน์จากชีวิตของเพื่อนมนุษย์

ท้ายสุดนี้ ขอให้ สมาชิก วคบท. ทุกท่าน ร่วมกันขับเคลื่อน ให้ วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทยก้าวสู่องค์กรที่รับใช้สังคมรับใช้ประชาชนอย่างเต็มภาคภูมิโดยแท้จริง

เภสัชกรที่ได้รับหนังสืออนุมัติผู้ความรู้ความชำนาญฯ สมาชิกกิตติมศักดิ์ คณาจารย์ และ กรรมการอำนวยการ

ดาว์นโหลดเอกสาร

ปฐกถา บทบาทควาสำคัญของผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพต่อสังคมไทย