โรงเรียนกำลังตกอยู่ในอันตรายจากแอสเบสตอส
 
 

ผมเห็นว่าสำคัญและจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันอันตรายในเรื่องนี้ขอส่งมาให้ค้นคว้าและเผยแพร่ต่อครับ ทั้งทาง นสพ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิ้ลทีวี องค์กรเอกชน

สำหรับผู้ที่ต้องการตามต่อขอให้ดูได้จาก web ของ บีบีซี
ดูแล้วน่ากลัวมากครับ สามารถสอบย้อนไปได้ว่าอันตรายเป็นอย่างไรและนำเสนอต่อเนื่องได้มากมาย

 
หัวข้อข่าว โรงเรียนกำลังตกอยู่ในอันตรายจากแอสเบสตอส
สรุปย่อของข่าวนี้ คือ
 
โรงเรียนในอังกฤษส่วนหนึ่งมีปัญหาที่ไม่สามารถป้องกันเด็กจากอันตรายของแอสเบสตอส ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปอด มีการประมาณการว่า 75% ของโรงเรียนในอังกฤษถูกคาดการณ์ว่าจะมีการใช้วัสดุในอาคารที่ประกอบด้วยแร่ใยหิน และ ครู 178 คนเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับแร่ใยหินแอสเบสตอส
 
นายจอน โอ ซุลลิแวน ประธานบริษัทที่ปรึกษาเกี่ยวกับการอบรมเรื่องแอสเบสตอส กล่าว่า มีหลักฐานจำนวนมากที่ชี้ว่ามีการกระจายของเส้นใยแร่ใยหินแอสเบสตอส โรงเรียนเป็นสถานที่ที่กระจายแร่ใยหิน ครู เจ้าหน้าที่ และ นักเรียน รับโอกาสเสี่ยงจากอันตรายเขากล่าวว่า "การที่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจากโรคเมโสเทลิโอมาซึ่งเป็นโรคจาดแอสเบสตอส ในกลุ่มครูและเจ้าหน้าที่ เป็นเครื่องบ่งชึ้ความล้มเหลวของมาตรการเชิงนโยบายในการจัดการเรื่องนี้ "สหภาพครูของอังกฤษเรียกร้องให้ทบทวนมาตรการตรวจสอบอันตรายของแร่ใยหินในโรงเรียนโดยเร่งด่วนเลขาธิการสมาคมครูและผู้บรรยาย ดร แมรี่ เบาสท์ กล่าวว่ารัฐบาลต้องจดตั้งองค์กรอืสระมาตรวจสอบเรื่องแร่ใยหินและจัดการกำจัดโดยด่วนมีการเรียกร้องให้จัดการกำจัดแร่ใยหินออกจากโรงเรียนโดยทันที จากสมาคมครูแห่งชาติอาจารย์ใหญ่ ที่ชื่อ เอียน ไรท์ มีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ออกข้อแนะนำในการจัดการเรื่องอันตรายจากแร่ใยหินโดยเร่งด่วนสำหรับครู ผู้ว่าการรัฐ และ อง์กรปกครองท้องถิ่น รวมถึงการจัดการอบรมให้ความรู้เขาเรียกร้องว่า การสร้างอาคารของรัฐหมายถึงว่าต้องจัดการรื้อถอนอาคารเก่าที่มีอยู่ ทั้งนี้สุขภาพและสวัสดิการของนักเรียน ครู และ เจ้าหน้าที่มีความสำคัญสูงสุด โดยกฎหมายแล้ว การจัดการที่เข้มงวดจะต้องมีการดำเนินการในโรงเรียนเพื่อติดตามอันตรายจากแร่ใยหินโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ
 
***** หมายเหตุ ******
สำหรับประเทศไทย สคบ จะเริ่มออกมาตรการให้มีฉลากบนสินค้าที่มีแร่ใยหิน เช่น ในกระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องแผ่นเรียบ ฝ้าเพดาน ฉนวนกันความร้อน ผ้าเบรค ท่อน้ำซีเมนต์ กระเบื้องยางไวนิลปูพื้น และ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อย่างไรก็ตามนักวิชาการ และ องค์กรผู้บริโภค มีข้อเสนอให้มีการยกเลิกการใช้แร่ใยหิน เพื่อขจัดอันตรายของผู้ใช้แรงงานและผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นองค์ประกอบ และ เร่งดำเนินการหามาตรการป้องกันเวลาทำลายตึก อาคาร
แต่รัฐบาลยังไม่มีการดำเนินการใดใดปัจจุบันประเทศไทยมีการอนุญาตให้ใช้แร่ใยหินเพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ แร่ใยหินชนิด ไครโซไทล์ (Chrysotile) หรือ แอสเบสตอสสีขาว ประเทศไทยมีการนำเข้าแร่ใยหินเป็นลำดับสี่ของโลก โดยนำเข้าจาก รัสเซีย บราซิล แคนาดา มีการศึกษา พบว่า การใช้แร่ใยหินมากก็จะพบผู้ป่วยมากจากการศึกษาในสหรัฐและญี่ปุ่นจากอันตรายของแร่ใยหินที่พบในประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้มีการยกเลิก ในเกือบ 50 ประเทศ ทั่วโลก เช่น ในสหภาพยุโรป รวมทั้งอังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ มีการจำกัดการใช้ในหลายประเทศ เช่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา บางประเทศมีการออกกฎหมายการรื้อถอนอาคารเก่าที่มีการใช้วัสดุแร่ใยหินที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด มีเครือข่ายการรณรงค์ให้มีการยกเลิกแร่ใยหินได้ทั้งระดับประเทศและระดับสากลอันตรายที่สำคัญที่เกิดจากแร่ใยหิน คือ การที่ อนุภาคของแร่ใยหินสามารถฟุ้งกระจายสู่ปอด ทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับปอด เช่น โรคปอดอักเสบจากแอสเบสตอส หรือ แอสเบสโตซิส โรคมะเร็งปอด และ โรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น การวินิฉัยและตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสจากแร่ใยหินและการเกิดอันตรายจากแร่ใยหินมีความยากลำบาก เนื่องจากมีการพัฒนาการของโรคใช้เวลานาน และ ขึ้นกับจำนวนอนุภาคที่สัมผัสและระยะเวลาของการสัมผัส การได้รับการวินิจฉัยเมื่อผู้ป่วยมีอาการว่ามาจากแอสเบสตอสจึงเป็นเรื่องยากเนื่องด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ในประเทศไทยยังไม่ทันสมัยพอ และ ความตื่นตังเรื่องนี้ยังจำกัด
 
ความเห็นของผู้ส่งข่าว
รัฐบาล โดย นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ซึ่ง จบมาจากอังกฤษ ควรกำหนดมาตรการโดยเร่งด่วนเพื่อลดอันตรายที่จะเกิดกับ ฝุ่นมรณะแร่ใยหิน กับประชาชนไทย โดยการห้ามการผลิตและนำเข้าให้เร็วที่สุด
 
Story from BBC NEWS:
http://news.bbc.co.uk/go/pr/fr/-/2/hi/uk_news/education/8524551.stm
Published: 2010/02/22 01:46:25 GMT
© BBC MMX
 
 
     

email : consumer_sss@yahoo.com
Copyright © 2010 Health Consumer Protection Project
แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
ชั้น 2 ตึกนวัตกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-8445,Fax 02-251-3531