กิจกรรม คคส. เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2558

กิจกรรม แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) (ตุลาคม-พฤศจิกายน 2558)

ประชุมแนวทางการขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติการแจ้งเตือนภัย

(15 ก.ย.58) ประชุมแนวทางการขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติการแจ้งเตือนภัยและจัดการสินค้าที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค พ.ศ. ….. และร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พศ. …..  เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุม 210 ชั้น 2 อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยมีผู้ร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนองค์กรด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 15 คน เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์การขับเคลื่อนร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับซึ่งผ่านการพิจารณาในสภาปฎิรูปแห่งชาติแล้ว และนำไปสู่แนวทางการเสนอและขับเคลื่อนร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับต่อไป

 

คคส.ร่วมกับองค์กรผู้บริโภคภาคประชาชน จัดประชุมแนะนำเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ

โดยดำเนินการในจังหวัดนำร่อง 5 จังหวัดดังนี้

เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดลำปาง

1) วันเสาร์ที่ 19 กันยายน  2558 ณ ห้องประชุมลีลาวดี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด มีผู้ร่วมประชุมจำนวน 50 คนซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรผู้บริโภคในจังหวัดร้อยเอ็ดจำนวน 28 องค์กร,

2) วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม 2558 ณ ห้องเวียงคำ โรงแรมลำปางเวียงทอง จังหวัดลำปาง ผู้ร่วมประชุมจำนวน 50 คน เป็นผู้แทนองค์กรผู้บริโภคในจังหวัดลำปางจำนวน 22 องค์กร

3) วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2558 ณ ห้องเวียงคำ โรงแรมลำปางเวียงทอง จังหวัดลำปาง ผู้ร่วมประชุมจำนวน 30 คนซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรผู้บริโภคในจังหวัดลำพูนจำนวน 12 องค์กร

เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดลำพูน

4) วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน  2558 ณ ห้องประชุมพิมรัตน์ โรงแรมพิมานอินน์ จังหวัดเชียงราย มีผู้ร่วมประชุมจำนวน 25 คนซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรผู้บริโภคในจังหวัดเชียงรายจำนวน 9 องค์กร,

เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดเชียงราย

5) วันอังคารที่ 1 ธันวาคม 2558 ณ โรงแรมเค เอ็ม กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ผู้ร่วมประชุมจำนวน 30 คน เป็นผู้แทนองค์กรผู้บริโภคในจังหวัดพะเยาจำนวน 14 องค์กร

เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดพะเยา

การประชุมนี้เป็นการแนะนำ “ระบบประเมินองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์” และให้ผู้แทนองค์กรผู้บริโภคทดลองประเมินองค์กรของตนเองโดยใช้ระบบประเมินองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์ สรุปการประเมินองค์กรฯ ในขั้นพื้นฐาน แ
ละการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเรื่องแนวทางการใช้ ระบบประเมินฯ ในพัฒนาองค์กรสู่องค์กรผู้บริโภคคุณภาพต่อไป

เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดร้อยเอ็ด

                                   

การประชุมวิชาการเรื่องการพัฒนารูปแบบและแนวทางการดำเนินงานของพนักงานเจ้าหน้าที่

เพื่อขับเคลื่อนการจัดการปัญหาโฆษณาอาหารและยาที่ผิดกฎหมายทางวิทยุกระจายเสียง

((6 พ.ย.58) ร่วมกับ แผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังกลไกระบบยา (กพย.) และวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท.) จัดประชุมวิชาการเรื่องการพัฒนารูปแบบและแนวทางการดำเนินงานของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อขับเคลื่อนการจัดการปัญหาโฆษณาอาหารและยาที่ผิดกฎหมายทางวิทยุกระจายเสียง เพื่อรวบรวมรูปแบบและวิธีการจัดการปัญหา และพัฒนารูปแบบและแนวทางการขับเคลื่อนในการจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายทางวิทยุ โดยมีผู้ร่วมประชุมจำนวน 30 คน* ซึ่งเป็นเภสัชกรที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยยาและอาหาร ที่มีประสบการณ์ในการจัดการปัญหาโฆษณาอาหารและยาที่ผิดกฎหมายทางวิทยุกระจายเสียงจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 8 พื้นที่ ผู้แทนจาก กสทช. และ อาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์ ซึ่งทำงานวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้อง มาร่วมนำเสนอประสบการณ์ทำงาน ซึ่งสรุปบทเรียนในภาพรวม พบว่าในการดำเนินงานดังกล่าวมีบทเรียนที่น่าสนใจ ในประเด็น 1) ขั้นตอนการวางแผน 2) มาตรการ/เครื่องมือในขั้นตอนการดำเนินงาน 3) มาตรการเสริม/ข้อเสนอแนะ และ 4) จุดอ่อนจุดแข็ง ผลจากประชุมนำไปสู่ข้อเสนอแนวทางการพัฒนา ระบบ และกลไกการจัดการโฆษณาทางวิทยุระดับประเทศ ต่อไป

ผู้จัดการแผนงาน คคส.ได้รับรางวัล เภสัชกรดีเด่น

     รศ.ภก.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานคคส.และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้รับรางวัล เภสัชกรดีเด่น ด้านการประยุกต์ใช้วิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสังคม จากเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

     ซึ่งมีพิธีรับรางวัลในการประชุมเภสัชกรรมเห่งชาติ ครั้งที่ 8 ในวันที่ 30 ตุลาคม 2558 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค

รองผู้จัดการแผนงาน คคส. ได้รับรางวัลเกียรติยศ

รองผู้จัดการแผนงาน คคส. ได้รับรางวัลเกียรติยศ

ผศ.ภญ.ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ  รองผู้จัดการแผนงาน คคส., รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม และอาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร  คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลเกียรติยศ  “คนดี ความดี แทนคุณแผ่นดิน ประจำปี ๒๕๕๘ สาขาบริการวิชาการ”  จากมูลนิธิเพื่อสังคมไทย

โดย ผศ.ภญ.ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ  ได้เข้ารับรางวัลจากฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์องคมนตรี ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๘  ที่ผ่านมา

กิจกรรม คคส. เดือนมิถุนายน-กันยายน 2558

ประมวลกิจกรรมของ คคส.(มิ.ย.-ก.ย.58)

กลไกและรูปแบบการจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ

(9 ก.ค.58) แผนงานฯ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และเครือข่ายเภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภคภาคใต้ จัดประชุมและการอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อจัดทำแผนบูรณาการ “ปฏิวัติซ้อนน้ำมันทอดซ้ำ” ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ ณ โรงแรมโรงแรม ธรรมรินทร์ธนา จ.ตรัง โดยมีผู้ร่วมประชุม ประกอบด้วยเภสัชกรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และภาคีเครือข่ายจำนวน 200 คน

ในการประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติ์ จาก นายแพทย์วิฑูรย์ เหลืองดิลก (นายเเพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง) กล่าวต้อนรับผลจากการประชุมคือ เครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค จัดทำแผนบูรณาการ “ปฏิวัติซ้อน น้ำมันทอดซ้ำ” ร่วมกันของเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค 14 จังหวัดภาคใต้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ การจัดการปัญหาน้ำมันทอดซ้ำ เสื่อมสภาพในพื้นที่ภาคใต้ มีประสิทธิภาพ มีความเข้มเเข็ง เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน โดยยึดสุขภาพของประชาชนเป็นสำคัญ นอกจากนี้มีฐานการเรียนรู้โดยเครือข่ายในพื้นที่ นำเสนอเรื่อง การสื่อบูรณาการเรื่องน้ำมันทอดซ้ำในการเรียน การจัดทำธนาคารน้ำมัน การแปรรูปน้ำมันทอดซ้ำเป็นไบโอดีเซล และอิฐผสม เพื่อให้ผู้ร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ภาพประกอบ-การประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดทำแผนบูรณาการ “ปฏิวัติซ้อนน้ำมันทอดซ้ำ” ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้

 

ร่าง พ.ร.บ.แจ้งเตือนภัยและการจัดการปัญหาสินค้าไม่ปลอดภัย

29 ก.ค.58) รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานฯ ในฐานะสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค นำเสนอรายงานการจัดการสินค้าที่ไม่ปลอดภัยและร่างพระราชบัญญัติการแจ้งเตือนภัยและจัดการสินค้าไม่ปลอดภัย พ.ศ… ต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งที่ประชุมสภาปฎิรูปแห่งชาติ มีมติเห็นชอบต่อรายงานและร่างฎหมายหมาดังกล่าว

ทั้งนี้ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ 1.ข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปหน่วยงานภาครัฐในการคุ้มครองผู้บริโภค 2.การจัดการสินค้าที่ไม่ปลอดภัยและร่างพ.ร.บ.การแจ้งเตือนภัยและจัดการสินค้าที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค พ.ศ. … 3.ความรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า และร่างพ.ร.บ.ความรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. … 4.ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม และร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … 5.การปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข

และร่างพ.ร.บ. จำนวน 3 ฉบับ (ประกอบด้วย 1.ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข พ.ศ. … 2.ร่างพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ …) พ.ศ. … 3.ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ …) พ.ศ. …

นำเสนอรายงานร่างพระราชบัญญัติการแจ้งเตือนภัยและการจัดการสินค้าไม่ปลอดภัย พ.ศ……

 

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ

(28 ก.ค.58) รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานฯ เป็นวิทยากรเรื่อง ความคาดหวังของผู้บริโภคด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในการประชุมเรื่องการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา นอกจากนี้ ผศ.ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ รองผู้จัดการแผนงานฯ ร่วมให้ความเห็นในฐานผู้แทน สสส.

 

พัฒนานักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค ให้ใช้กลไกระบบแจ้งเตือนภัยผู้บริโภค

(24 ส.ค.58) ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ จัดสมัมนาวิชาการ “การพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ” องค์กรนำสุขภาพสำหรับเจ้าหน้าที่และผู้บริหารสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ประจำปี 2558 เรื่อง “การพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน” ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานครเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาบทบาทการเฝ้าระวังเตือนภัยและเชื่อมต่อกลไกเรื่องร้องเรียนในการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนต่อไป ผู้เข้าร่วมการสัมมนากว่า 300 คน ประกอบด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯและสถานีอนามัยที่ได้รับพระราชทานนาม เภสัชกรโรงพยาบาลชุมชน ประธานอาสาสมัครสาธารณสุข และผู้แทนศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์

และการประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ เป็นประธานการเปิดการสัมมนา กล่าวว่าสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ และที่ได้รับพระราชทานนามจะเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนร่วมอย่างมากในการผลักดันการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคและช่วยขับเคลื่อนกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยการสัมมนาวิชาการในครั้งนี้จะเป็นเวทีที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาบทบาทการในการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนต่อไป

 

กลไกและรูปแบบการจัดการปัญหาสเตอรอยด์ในผลิตภัณฑ์สุขภาพ

(2 ก.ย.58) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท.) จัดประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการตามเส้นทางเดินการจัดการสเตอรอยด์ที่คุกคามสุขภาพของคนไทย ณ ห้องกินรี 1 โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง เพื่อให้ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการตามเส้นทางเดินฯ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน จำนวน 94 คน และได้รับเกียรติจาก เภสัชกรประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นำเสนอ “ร่างเส้นทางเดิน (Road map) การจัดการสเตอรอยด์ที่คุกคามสุขภาพของคนไทย” จากนั้นเป็นการ “ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อทวนสอบและสรุปเส้นทางการการจัดการสเตอรอยด์ที่คุกคามสุขภาพของคนไทย” ผลจากการประชุมจะนำเสนอต่อประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการจัดการปัญหายาสเตอรอยด์ ต่อไป

สัมมนาวิชาการเรื่อง “การพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

สัมมนาวิชาการเรื่อง “การพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ จัดสัมมนาวิชาการประจำปีสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ เรื่อง “การพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน” เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาบทบาทการเฝ้าระวังเตือนภัย และเชื่อมต่อกลไกเรื่องร้องเรียนในการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนต่อไป

การประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ เป็นประธานการเปิดการสัมมนา โดยเห็นว่า สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ และที่ได้รับพระราชทานนาม จะเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนร่วมอย่างมากในการผลักดันการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคและช่วยขับเคลื่อนกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โดยการสัมมนาวิชาการในครั้งนี้จะเป็นเวทีที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาบทบาทการในการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนต่อไป มีผู้เข้าร่วมการสัมมนากว่า 300 คน ประกอบด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯและสถานีอนามัยที่ได้รับพระราชทานนาม เภสัชกรโรงพยาบาลชุมชน ประธานอาสาสมัครสาธารณสุข และผู้แทนศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์

Download เอกสารประกอบการสัมมนา

สรุปประชุมบทเรียนงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ

    สรุปประชุมบทเรียนงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ

วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท.) สภาเภสัชกรรม ร่วมกับ สภาเภสัชกรรม แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดประชุมบทเรียนงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานของเภสัชกรในการทำงานดูแลผู้ป่วยในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน และพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรในการทำงานดูแลผู้ป่วยในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน

โดยเรียนรู้ผ่านเวทีการถอดบทเรียนด้านงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ โดยมีผู้ร่วมประชุมคือเภสัชกรที่มีความสนใจ และมีประสบการณ์ในการดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหาการใช้ยาในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน จำนวน 200 คน

รูปแบบการประชุมประกอบด้วย การอภิปรายและแลกเปลี่ยน การนำเสนอผลงานวิชาการรูปแบบ oral presentation จำนวน 16 เรื่อง, การนำเสนอด้วยโปสเตอร์ จำนวน 50 เรื่อง และการนำเสนอด้วยเอกสารวิชาการ จำนวน 127 เรื่อง ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็น คือ

1) การจัดการเรื่องยาในชุมชน เช่น การส่งเสริมการใช้ยาอย่างเหมาะสมเพื่อแก้ปัญหายาซ้ำซ้อน (Poly pharmacy) ความปลอดภัยด้านยาในชุมชน: งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านยา

2) การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องในชุมชน

3) งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

4) การพัฒนาระบบเวชภัณฑ์ใน รพ.สต.

5) นวตกรรมการทำงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ

โดยในวันที่ 23 มีนาคม 2558 ช่วงเช้าเป็นการอภิปรายเรื่อง “ทิศทางงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ” วิยากรประกอบด้วย ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ นายกสภาเภสัชกรรม, รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ที่ปรึกษา สปสช.และนพ.ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแก่งคอย สระบุรี ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

จากนั้นเป็นการนำเสนอเรื่อง “บทบาทของเภสัชกรที่ทำงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ” วิทยากรประกอบด้วย ภญ.เนาวรัตน์ ทิพย์อุทัย โรงพยาบาลบางบ่อ สมุทรปราการ, ภญ.พชรณัฐฎ์ ชยณัฐพงศ์ โรงพยาบาลพรหมคีรี นครศรีธรรมราช และ ภญ.สุภาวดี เปล่งชัย โรงพยาบาลเสลภูมิ ร้อยเอ็ด ดำเนินรายการโดย ภก.ภาณุโชติ ทองยัง รองผู้อำนวยการ วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท.) ในภาคบ่ายเป็นการนำเสนอผลงานวิชาการรูปแบบ oral presentation แบ่งเป็นห้องย่อยที่ 1: ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน และ ห้องย่อยที่ 2: การพัฒนาระบบความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

ในช่วงเย็นมีพิธีมอบประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ วคบท. และ ประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้นำการจัดการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค (นจพบ.) คคส.

ส่วนวันที่ 24 มีนาคม 2558 ช่วงเช้า เป็นการอภิปราย เรื่อง “บทบาทของร้านยากับบริการเภสัชกรรมปฐมภูมิ” วิทยากรประกอบด้วย นพ.ชูชัย ศรชำนิ ประธานกลุ่มภารกิจสนับสนุนเครือข่ายระบบบริการ, ภก.วินิต อัศวกิจวีรี ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, ผศ.ภญ.ดร.รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานศูนย์ป
ระสานงาน

การศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.), ภญ.ช้องมาศ นิติศฤงคาริน นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน และภญ.จีรยา ธูปมงคล สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ดำเนินรายการโดย ภญ.พรพรรณ สุนทรธรรม รองผู้อำนวยการ วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท.)

ถัดมาเป็นการ เสวนา เรื่อง เคล็ดไม่ลับที่จำเป็นสำหรับเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน วิทยกรประกอบด้วย ภญ.ดร.รุ่งทิวา หมื่นปา หัวหน้างานบริบาลเภสัชกรรม รพ.ลำปาง และภก.ฉัตรพิศุทธิ์ วิเศษสอน รพ.สมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ดำเนินรายการโดย ภก.ธนพัฒน์ เลาวหุตานนท์ หัวหน้างาน สำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบยาและเวชภัณฑ์ และช่วงบ่ายปิดการประชุมด้วยการประชุมเครือข่ายเภสัชกรรมปฐมภูมิและกำหนดทิศทางในการขับเคลื่อน

 

Download เอกสารการประชุม “บทเรียนงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ” วันที่ 23 –24 มีนาคม 2558

Download โปสเตอร์นำเสนอทางวิชาการทั้งหมดในงาน

การอภิปราย session ที่ 1

การอภิปราย session ที่ 2

 การอภิปราย session ที่ 3

ห้องที่ 1

ห้องที่ 2

ประชุมวิชาการ ร่าง พ.ร.บ.ยา

การประชุมวิชาการ“ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ… : ผลกระทบต่อระบบยา และผู้บริโภค”วันที่ 8 สิงหาคม 2557 เวลา 9.00-15.00 น. ณ  โรงแรมแมนดาริน  กรุงเทพฯ  เพื่อพิจารณา ผลกระทบต่อ ระบบยาและผู้บริโภค ของ ร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. … ฉบับ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และ ฉบับประชาชน

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2557 เวลา 9.00-15.00 น. แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา (มสพ.) วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท.) และ แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) จัดประชุมวิชาการ“ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ… : ผลกระทบต่อระบบยาและผู้บริโภค”วันที่ 8 สิงหาคม 2557 เวลา 9.00-15.00 น. ณ  โรงแรมแมนดาริน  กรุงเทพฯ

ทั้งนี้ก็เพื่อพิจารณา ผลกระทบต่อระบบยาและผู้บริโภค ของ ร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. … ฉบับ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และ ฉบับประชาชน โดยมีผู้แทนจากภาคประชาชน และเครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรม ทั้งภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคเอกชน จำนวน 70 คน

ผลจากการประชุมนำไปสู่แนวทางการขับเคลื่อนร่วมกัน นำไปสู่กฎหมายด้านยาที่สร้างระบบยา ที่มีเจตนารมณ์เพื่อสวัสดิภาพและการคุ้มครองประชาชนในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียนให้เข้าถึงยาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการการขึ้นทะเบียน การผลิต การกระจาย และการจ่ายยา

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

วิเคราะห์ร่าง พระราชบัญญัติยา พ.ศ… ฉบับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) : ปัญหาต่อระบบยาและผู้บริโภคโดย ผศ.ภญ.ดร. วรรณา ศรีวิริยานุภาพ

ความเห็นแย้งการแบ่งประเภทยาร่าง พรบ. ยา ฉบับที่เสนอโดย อย.และสาระสำคัญของ ร่างพระราชบัญญัติยา ฉบับประชาชนภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร

ร่าง พระราชบัญญัติยา ฉบับประชาชนโดย ผศ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี

กิจกรรม คคส. เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2557

กิจกรรมของ คคส. ในเดือน กรกฎาคม 2557 (9 มิ.ย.-14 ก.ค.57)

ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการสำรวจสถานการณ์การใช้น้ำมันทอดซ้ำฯ

(18 พ.ค.57) คณะทำงานพัฒนาหลักเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ แผนงานพัฒนาวิชากรและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำ “หลักเกณฑ์การพิจารณาองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ” ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการพัฒนาองค์กรและเพื่อสร้างความเข้มแข็งของการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ตลอดจนส่งเสริมการขึ้นทะเบียนองค์กรผู้บริโภคที่มีสิทธิเสนอผู้แทนเข้ารับเลือกเป็นกรรมการองค์การอิสระผู้บริโภคที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต

คณะทำงานฯ จึงได้เชิญผู้นำองค์กรผู้บริโภคร่วมทำความเข้าใจหลักการ ความเป็นมาและเนื้อหาเกี่ยวกับเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ และร่วมแสวงหาแนวทางในการพัฒนาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้ตามเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ ในการประชุม เรื่อง “องค์กรผู้บริโภคกับเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ”ณ ห้องกินนรี 1 โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพฯ

1) เพื่อ ทำความเข้าใจหลักการ ความเป็นมาและเนื้อหาเกี่ยวกับเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ 2) แสวงหาแนวทางในการพัฒนาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้ตามเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ และ 3) รับสมัครองค์กรผู้บริโภคที่จะเป็นภาคีในการพิจารณาเป็นองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ แกนนำองค์กรผู้บริโภคจาก 70 องค์กรจากภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร จำนวนที่ 70 คน

การประชุมในช่วงเช้าเป็นการบรรยายเรื่อง ความเป็นมาและสาระสำคัญของการเป็นองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ โดย นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะทำงานฯ จากนั้นเป็นการนำเสนอ หลักเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ โดย รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานฯ และการแบ่งกลุ่มพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาเกณฑ์ฯ จำนวน 6 กลุ่ม และนำเสนอผลการประชุมกลุ่ม และอภิปรายทั่วไป

ผลจากการประชุม นำไปสู่ความเห็นและข้อเสนอแนะจากแกนนำองค์กรผู้บริโภคเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้ตามเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ และมีองค์กรผู้บริโภคที่จะเป็นภาคีในการพิจารณาเป็นองค์กรผู้บริโภคคุณภาพต่อไป

สัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำมาตรการในการควบคุม กำกับ และบังคับใช้กฎหมายกรณีปัญหาน้ำมันทอดซ้ำ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

(24-28 พ.ค.57) คณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพจัดให้มีการศึกษาดูงานของคณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงานฯ และภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด การทำงาน และนโยบายตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย

โดยเป็นไปตามยุทธศาสตร์การทำงานคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับประเทศต่างๆในอาเซียน ซึ่งประเทศสิงคโปร์มีจุดเด่นควรแก่การศึกษาคือกฎหมายมะนาว (Lemon Law) ที่ให้อำนาจองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนชื่อ Consumer Association of Singapore (CASE) ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มศักยภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค และก็ปรากฏผลงานที่มีประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาสินค้าไม่ปลอดภัยจนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในประเทศสิงคโปร์

ส่วนประเทศมาเลเซียมีจุดเด่นคือมีองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคทั้งระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประทศที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลตั้งอยู่ เช่น Third World Network (TWN), Consumer Association of Penang (CAP), Federation of Malaysian Consumers Associations, (FOMCA) และ Ministry of Domestic Trade, Co-Operatives and Consumerism (MDTT) และหน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สรุปการนำเสนอสารนิพนธ์ (IS) หลักสูตรพัฒนาผู้นำการจัดการเพื่อผู้บริโภค รุ่นที่ 2

(3 มิ.ย.57) ตามที่คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2557 (คจ.สช.) ได้เปิดช่องทางในการ เสนอประเด็นเพื่อพิจารณาจัดเป็นระเบียบวาระการประชุมในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2557 และได้เปิดรับประเด็นนโยบายฯ ทั้งนี้คจ.สช.ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการวิชาการ กลั่นกรองประเด็นเชิง นโยบายฯ เพื่อกำหนดเป็นร่างระเบียบวาระการประชุม และวางแผนสนับสนุนกระบวนการพัฒนาข้อเสนอ นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม โดยให้ความสำคัญทั้งการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและข้อมูลหลักฐานทางวิชาการ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ต่อไป

ในการนี้คณะอนุกรรมการวิชาการ จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับหน่วยงาน/ องค์กร เครือข่ายผู้เสนอประเด็น ในวันอังคารที่ 3 มิถุนายน 2557 ณ ห้องชนกนันท์ โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ กรุงเทพมหานคร

โดยเชิญ ผู้แทนแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ในฐานะ ผู้แทน 12 ภาคีที่เสนอประเด็น “การจัดการยาที่คุกคามสุขภาพคนไทย” เข้าร่วมประชุม เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ และเสนอ แนวคิด สถานการณ์ และความสำคัญของประเด็นนโยบายฯ ตามที่เสนอ โดยประเด็น “การจัดการยาที่คุกคามสุขภาพคนไทย”

ซึ่ง คคส.และภาคีเครือข่ายเสนอ อยู่ในกลุ่มประเด็นที่พิจารณาตามหลักเกณฑ์แล้วมีความเหมาะสมน่าจะพิจารณาเป็นระเบียบวาระการประชุม กลุ่มย่อยที่ 2 ร่วมกับประเด็น “บทบาทของชุมชน/ท้องถิ่นในการจัดการระบบยาในชุมชน” จากนี้จะเป็นการประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อพัฒนาข้อเสนอฯ ต่อไป

 

กิจกรรม คคส. เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2557

กิจกรรม คคส. เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2557

 

จัดทำ “หลักเกณฑ์การพิจารณาองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ”

18 พ.ค.57) คณะทำงานพัฒนาหลักเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ แผนงานพัฒนาวิชากรและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำ “หลักเกณฑ์การพิจารณาองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ” ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการพัฒนาองค์กรและเพื่อสร้างความเข้มแข็งของการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ตลอดจนส่งเสริมการขึ้นทะเบียนองค์กรผู้บริโภคที่มีสิทธิเสนอผู้แทนเข้ารับเลือกเป็นกรรมการองค์การอิสระผู้บริโภคที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต

คณะทำงานฯ จึงได้เชิญผู้นำองค์กรผู้บริโภคร่วมทำความเข้าใจหลักการ ความเป็นมาและเนื้อหาเกี่ยวกับเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ และร่วมแสวงหาแนวทางในการพัฒนาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้ตามเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ ในการประชุม เรื่อง “องค์กรผู้บริโภคกับเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ”ณ ห้องกินนรี 1 โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพฯ

ทั้งนี้ เพื่อ 1) เพื่อ ทำความเข้าใจหลักการ ความเป็นมาและเนื้อหาเกี่ยวกับเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ

2) แสวงหาแนวทางในการพัฒนาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้ตามเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ

3) รับสมัครองค์กรผู้บริโภคที่จะเป็นภาคีในการพิจารณาเป็นองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ

โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ แกนนำองค์กรผู้บริโภคจาก 70 องค์กรจากภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร จำนวนที่ 70 คน

การประชุมในช่วงเช้าเป็นการบรรยายเรื่อง ความเป็นมาและสาระสำคัญของการเป็นองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ โดย นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะทำงานฯ จากนั้นเป็นการนำเสนอ หลักเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ โดย รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานฯ และการแบ่งกลุ่มพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาเกณฑ์ฯ จำนวน 6 กลุ่ม และนำเสนอผลการประชุมกลุ่ม และอภิปรายทั่วไป

ผลจากการประชุม นำไปสู่ความเห็นและข้อเสนอแนะจากแกนนำองค์กรผู้บริโภคเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้ตามเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ และมีองค์กรผู้บริโภคที่จะเป็นภาคีในการพิจารณาเป็นองค์กรผู้บริโภคคุณภาพต่อไป

 

 

การศึกษาดูงานของคณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงานฯ และภาคีที่เกี่ยวข้อง ในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย

(24-28 พ.ค.57) คณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพจัดให้มีการศึกษาดูงานของคณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงานฯ และภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด การทำงาน และนโยบายตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย

โดยเป็นไปตามยุทธศาสตร์การทำงานคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับประเทศต่างๆในอาเซียน ซึ่งประเทศสิงคโปร์มีจุดเด่นควรแก่การศึกษาคือกฎหมายมะนาว (Lemon Law) ที่ให้อำนาจองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนชื่อ Consumer Association of Singapore (CASE) ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มศักยภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค และก็ปรากฏผลงานที่มีประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาสินค้าไม่ปลอดภัยจนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในประเทศสิงคโปร์

ส่วนประเทศมาเลเซียมีจุดเด่นคือมีองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคทั้งระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประทศที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลตั้งอยู่ เช่น Third World Network (TWN), Consumer Association of Penang (CAP), Federation of Malaysian Consumers Associations, (FOMCA) และ Ministry of Domestic Trade, Co-Operatives and Consumerism (MDTT) และหน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

การประชุมในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2557

(3 มิ.ย.57) ตามที่คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2557 (คจ.สช.) ได้เปิดช่องทางในการ เสนอประเด็นเพื่อพิจารณาจัดเป็นระเบียบวาระการประชุมในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2557 และได้เปิดรับประเด็นนโยบายฯ ทั้งนี้คจ.สช.ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการวิชาการ กลั่นกรองประเด็นเชิง นโยบายฯ

เพื่อกำหนดเป็นร่างระเบียบวาระการประชุม และวางแผนสนับสนุนกระบวนการพัฒนาข้อเสนอ นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม โดยให้ความสำคัญทั้งการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและข้อมูลหลักฐานทางวิชาการ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ต่อไป

ในการนี้คณะอนุกรรมการวิชาการ จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับหน่วยงาน/ องค์กร เครือข่ายผู้เสนอประเด็น ในวันอังคารที่ 3 มิถุนายน 2557 ณ ห้องชนกนันท์ โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ กรุงเทพมหานคร และเชิญ ผู้แทนแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ในฐานะ ผู้แทน 12 ภาคีที่เสนอประเด็น “การจัดการยาที่คุกคามสุขภาพคนไทย” เข้าร่วมประชุม เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ และเสนอ แนวคิด สถานการณ์ และความสำคัญของประเด็นนโยบายฯ ตามที่เสนอ โ

ดยประเด็น “การจัดการยาที่คุกคามสุขภาพคนไทย” ซึ่ง คคส.และภาคีเครือข่ายเสนอ อยู่ในกลุ่มประเด็นที่พิจารณาตามหลักเกณฑ์แล้วมีความเหมาะสมน่าจะพิจารณาเป็นระเบียบวาระการประชุม กลุ่มย่อยที่ 2 ร่วมกับประเด็น “บทบาทของชุมชน/ท้องถิ่นในการจัดการระบบยาในชุมชน” จากนี้จะเป็นการประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อพัฒนาข้อเสนอฯ ต่อไป

กิจกรรม คคส. เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2557

กิจกรรมของ คคส. ในเดือนพฤษภาคม 2557 (14 เม.ย.-12 พ.ค.57)

 

การประชุมสมัชชาผู้บริโภคประจำปี 2557

(28-29 เม.ย.57) คณะกรรมการองค์การอิสาระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, แผนงานกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการวิทยุและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดประชุมสมัชชาผู้บริโภคประจำปี 2557 “ร่วมตรวจสอบ เสนอแนะ แสดงพลังผู้บริโภค”

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาคีเครือข่าย (1) ทราบสถานการณ์และความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (2) ร่วมติดตามการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านต่างๆ (3) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและกำหนดทิศทางในการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภค และ (4) ร่วมรณรงค์วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย

มีผู้ร่วมประชุมประมาณ 500 คน ประกอบด้วย เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 72 จังหวัด เครือข่ายผู้บริโภค้านต่างๆ กลุ่มผู้เสียหายที่ใช้สิทธิทั้ง 7 ด้าน เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค หน่วยงานรัฐด้านการคุ้มครองผู้บริโภค สือมวลชน และ คณะกรรมการและอนุกรรมการองค์การอิสระฯ 7 ด้าน

โดยมีรูปแบบการจัดงานคือ 1) บรรยายและอภิปราย 2) เวทีวิชาการ 3) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) นิทรรศการผลงานของเครือข่ายในการคุ้มครองผู้บริโภคยอดเยี่ยม และ 5) มอบโล่หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค สารคดีเชิงข่าวคุ้มครองผู้บริโภคจากสถานีโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ และผู้บริโภคยอดเยี่ยมประจำปี 2556 ซึ่งในวันที่ 28 เมษายน 2557 รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ เป็นวิทยากร ร่วมอภิปราย “ความก้าวหน้าและปัญหาของหน่วยงานรัฐในการคุ้มครองผู้บริโภคในรอบปีที่ผ่านมา”

ผลจากการประชุมนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและกำหนดทิศทางในการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้ภายในงานยังมีการมอบรางวัลสื่อยอดเยี่ยมให้แก่สารคดีเชิงข่าวเรื่อง “ผู้บริโภครวมตัวร้องเรียนกรณีระบบเกียร์ของรถเชฟโรเล็ทออกอากาศทางช่อง TPBS 9 ตอน” จัดทำโดยวรลักษณ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

 

เวทีสมัชชาแรงงาน เรื่อง “การยกเลิก แร่ใยหิน ถึงข้อเรียกร้องสถาบันความปลอดภัยฯ”

(10 พ.ค.57) ด้วยคณะทำงานฯ จัดงานวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครบรอบ 21 ปี ประกอบด้วย สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย เครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย (T-BAN) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย แผนพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน นักวิชาการ และเครือข่ายผู้นำแรงงานในพื้นที่อุตสาหกรรมต่างๆ”

ได้มีมติร่วมกันในการจัดงาน เวทีสมัชชาแรงงาน เรื่อง “การยกเลิก แร่ใยหิน ถึงข้อเรียกร้องสถาบันความปลอดภัยฯ” เพื่อที่จะทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ที่เป็นสารก่อมะเร็งเยื้อหุ้มปอด มะเร็งปอด โดยแฝงมากับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้อยู่และเกี่ยวข้อง ณ ห้องทองกวาว จามจุรี ชั้น 1 โรงแรมทีเค พาเลซ (TK Palace Hotel) ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

ซึ่งภายในงานมีการประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน โดยขอให้รัฐบาลดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) 12 เมษายน 2554 งดนำเข้าและเลิกใช้ผลิตภัณฑ์แร่ใยหินทันที พร้อมขอให้ชะลอการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ที่กระทรวงแรงงานขาดการมีส่วนร่วม และให้เปิดเวทีทบทวนเนื้อหาของร่างกม.ฉบับผู้ใช้แรงงานและเครือข่ายภาคประชาชน รวมถึงร่างกม.ฉบับ คปก.นอกจากนี้ขอให้พัฒนาระบบการวินิจฉัยโรค รักษาเยียวยาผู้ป่วย จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ และเผยแพร่พิษภัยแร่ใยหินด้วย

 

(30 เม.ย.57) เข้าร่วมจัดนิทรรศการและเป็นวิทยากรกระบวนการในงาน สัมมนาเครือข่ายและแกนนำคุ้มครองผู้บริโภค จ.ยโสธร ประจำปี 2557 เนื่องในวันคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งทาง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร เป็นเจ้าภาพจัดสัมมนาฯ โดยมี นพ.สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นพ.สสจ.ยโสธร เป็นประธาน มีการมอบรางวัลให้กับผู้ชนะเลิศการประกวด สปอตวิทยุรณรงค์การคุ้มครองผู้บริโภค และได้มีการเสวนาแนวทางการดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค จ.ยโสธร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความเข้มแข็ง ประชาชนมีส่วนร่วม สร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในระดับพื้นที่ และในนามของโครงการปฏิวัติน้ำมันทอดซ้ำ ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการเพื่อนำเสนอเส้นทางน้ำมันทอดซ้ำ ฐานข้อมูลและการประเมินสถานการณ์ข้อเสนอแนะที่พร้อมต่อการนำเสนอต่อสาธารณะ และมีเครือข่ายเข้าร่วมประชุมเผื่อจะนำความเห็นที่ได้รับและข้อมูลทางวิชาการที่ทางคณะทำงานในโครงการฯ ได้นำเสนอ ได้รับทราบข้อเท็จจริงและนำไปเผยแพร่ ทบทวนแก้ไขเพิ่มเติมการดำเนินงานตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน ที่ได้เข้าชมนิทรรศการในครั้งนี้

โครงการปฏิวัติน้ำมันทอดซ้ำ

(7 พ.ค.57)จัดอบรมชี้แจงการดำเนินงานโครงการปฏิวัติน้ำมันทอด ณ เทศบาลตำบลสามแยก อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร ให้กับผู้นำชุมชน อสม. และผู้ประกอบการร้านค้าในตลาดสด จำนวน 4 ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสามแยก เพื่อรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างการเปลี่ยน พฤติกรรมไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพประกอบอาหารในครัวเรือน และประกอบอาหารจำหน่ายในตลาดสด เพื่อหยุดเส้นทางการใช้น้ำมันทอดซ้ำที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยทางเทศบาลได้จัดจุดรับแลกน้ำมันเก่า 4/1 (น้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ 4 ขวด แลกน้ำมันใหม่ 1 ขวด) และได้จัดทำสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ป้าย รถแห่ หอกระจายข่าว เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลรับทราบการดำเนินงาน และสร้างกระแสตื่นตัวรวมดำเนินโครงการให้มากขึ้น ทั้งนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลฯ ได้ร่วมดำเนินการและสาธิตการทำน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ เพื่อเป็นทางออกของการจัดการน้ำมันที่เสื่อมสภาพ