ประชุมวิชาการองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ และพิธีมอบใบประกาศรับรององค์กรผู้บริโภคคุณภาพ

ประชุมวิชาการองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ เรื่อง องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ: ทิศทาง บทบาท และการสนับสนุน

และพิธีมอบใบประกาศรับรององค์กรผู้บริโภคคุณภาพ

วันที่ 29-30 ตุลาคม 2561 ณ ห้องเมจิก 2 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น


สืบเนื่องจาก ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ได้รับมอบภารกิจจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในการพัฒนาหลักเกณฑ์และกระบวนการในการพัฒนาองค์กรผู้บริโภคร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความพร้อมเข้าสู่กระบวนการรับรององค์กรคุณภาพ ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2558  โดยในปี 2561 มีองค์กรผู้บริโภคที่สมัครลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมในกระบวนการรับรองคุณภาพ และ คคส.ดำเนินการประเมินตามหลักเกณฑ์ ซึ่งผลการดำเนินการรับรององค์กรคุณภาพ มีองค์กรผู้บริโภคที่ผ่านการประเมินเป็นองค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นสูงจำนวน  19 องค์กร[i] และมีองค์กรผู้บริโภคผ่านการประเมินเป็นองค์กรผู้บริโภคขั้นพื้นฐานจำนวน 222 องค์กร[ii]  ส่วนองค์กรผู้บริโภคที่ยังไม่ผ่านการรับรองคณะผู้ประเมินได้ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาต่อไป

นายพิทยา จินาวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ 2 สสส. และวิทยากร

แผนงานพัฒนาวิชาการและสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ (มวคบ) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มูลนิธิเภสัชชนบท (มภช)  ตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทขององค์กรผู้บริโภคต่อการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย และมีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะประสานความร่วมมือในการพัฒนาระบบการรับรององค์กรผู้บริโภคคุณภาพ จึงจัดประชุมวิชาการองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ เรื่อง องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ: ทิศทาง บทบาท และการสนับสนุน และพิธีมอบใบประกาศรับรององค์กรผู้บริโภคคุณภาพ ระหว่างวันที่ 29-30 ตุลาคม 2561  ณ ห้องเมจิก 2โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

การจัดประชุมวิชาการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาองค์กรและเพื่อสร้างความเข้มแข็งของการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน และมอบใบประกาศรับรององค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นสูง และองค์กรผู้บริโภคขั้นพื้นฐาน ผู้เข้าสัมมนาวิชาการ ประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรผู้บริโภคขั้นพื้นฐานและขั้นสูง กรรมการจัดงานและเจ้าหน้าที่ผู้จัดประชุม รวม ผู้เข้าสัมมนาทั้งสิ้น 240 คน  และได้รับเกียรติจาก นายพิทยา จินาวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ 2 สสส. เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม

 

♦ ความก้าวหน้าร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ พ.ศ….

จากนั้นเป็นเวทีเสวนาความก้าวหน้าร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ พ.ศ….  วิทยากรประกอบด้วย นางสาวสุภัทรา นาคะผิว กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน, นางสาวทรงศิริ จุมพล สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, นางสาวศยามล  ไกรยูรวงศ์  สำนักงานปฏิรูปกฎหมาย, นางสาวริยา เด็ดขาด  คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และ นายไพศาล  ลิ้มสถิตย์   ศูนย์กฎหมาย สุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการโดย นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

และในช่วงบ่ายเป็นการประชุมวิชาการโดยมี 4 ห้องคือ 1) การพัฒนาโครงการจัดการสินค้าไม่ปลอดภัยโดยองค์กรผู้บริโภคและการสนับสนุน โดย คคส. 2) การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การจัดการเชื้อดื้อยาภาคประชาชน โดย กพย. 3) การขับเคลื่อนกฎหมายสภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ โดย มพบ. และ 4) การพัฒนาศักยภาพการประเมินและติดตามภายในของกลไกภาค

การพัฒนาโครงการจัดการสินค้าไม่ปลอดภัยโดยองค์กรผู้บริโภค
การพัฒนาโครงการจัดการสินค้าไม่ปลอดภัยโดยองค์กรผู้บริโภค
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การจัดการเชื้อดื้อยาภาคประชาชน
การขับเคลื่อนกฎหมายสภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ

 

♦ บทเรียนการพัฒนาองค์กรคุณภาพในภาคส่วนต่างๆ

ในวันที่ 30 ตุลาคม 2561  ช่วงเช้าเป็นเวทีเสวนา เรื่อง บทเรียนการพัฒนาองค์กรคุณภาพในภาคส่วนต่างๆ วิทยากรประกอบด้วย ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร มูลนิธิวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ, นางวรรณา ธรรมร่มดี บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด, นางสุภาพร ถิ่นวัฒนากุล มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา และ รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ กรรมการรับรององค์กรผู้บริโภคคุณภาพ ดำเนินรายการและวิทยากรโดย รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ที่ปรึกษาแผนงาน คคส. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาองค์กรคุณภาพในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ด้าน โครงสร้าง กระบวนการ ผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นในมิติผลงาน มิติการจัดการ มิติบุคลากร และ มิติธรรมาภิบาล

 

♦ ความคาดหวัง ความร่วมมือ และการสนับสนุน ต่อองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ

จากนั้นเป็นเวทีเสวนาเรื่อง ความคาดหวัง ความร่วมมือ และการสนับสนุน ต่อองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ วิทยากรประกอบด้วย ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา, ทพ.อรรถพร  ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, ดร.ชุติเดช บุญโกสุมภ์ ผู้อำนวยการสำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. และ นางสาวเบญญาภา เมธาวราพร นักวิชการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ดำเนินรายการ ผศ.ดร.ยุพดี สิริสินสุข รองผู้จัดการแผนงาน กพย. เพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นความคาดหวัง ความร่วมมือ และการสนับสนุน ต่อองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ ของแต่ละหน่วยงาน

 

♦ ทิศทางและบทบาทองค์กรผู้บริโภคกับการพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค

นพ.มงคล ณ สงขลา

ในช่วงบ่าย นพ.มงคล ณ สงขลา กรรมการประสานยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพและการพัฒนาระบบยา สสส. และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปาฐกถาพิเศษเรื่อง ทิศทางและบทบาทองค์กรผู้บริโภคกับการพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค

นพ.มงคล กล่าวว่า การมอบใบประกาศรับรองให้กับองค์กรผู้บริโภคคุณภาพในวันนี้  ทุกองค์กรได้ผ่านเกณฑ์ประเมินที่ร่วมออกแบบโดยศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) และตัวแทนองค์กรผู้บริโภค  โดยมีเกณฑ์ทั้งด้านโครงสร้างองค์กร กระบวนการดำเนินงาน และผลลัพธ์การคุ้มครองผู้บริโภค โดยแบ่งระดับความเข้มแข็งขององค์กรคุณภาพเป็น 3 ระดับ คือ ขั้นพื้นฐาน ขั้นมีสิทธิ์ และขั้นสูง  ซึ่งในวันนี้ มีองค์กรผู้บริโภคที่ผ่านการรับรองคุณภาพขั้นสูง จำนวน 19 องค์กร ซึ่งจะเป็นตัวอย่างและเป็นพี่เลี้ยงให้กับองค์กรขั้นพื้นฐานและขั้นมีสิทธิ์ ในการพัฒนาองค์กรของตนเองให้มีระบบบริหารภายในที่เข้มแข็ง ตามหลักการบริหารสมัยใหม่ ควบคู่กับการมีระบบธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร (Good governance) ทั้งนี้ ในปี 2561 มีองค์กรผู้บริโภคที่ผ่านการรับรองคุณภาพ 222 องค์กร จากที่สมัครเข้าร่วมการประเมิน 300 กว่าองค์กร นับเป็นการยกระดับความก้าวหน้าของระบบคุ้มครองผู้บริโภคไทยที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง นับแต่เริ่มมี พรบ. คุ้มครองผู้บริโภคใน ปี 2522 เป็นต้นมา

“องค์กรผู้บริโภคที่มีความเข้มแข็ง ถือเป็นหลักประกันสำคัญของประชาชนในด้านสิทธิผู้บริโภค ซึ่งความสำคัญไม่ได้อยู่ที่การมอบรางวัลในครั้งนี้ แต่กระบวนการประเมินจากหลักฐานผลงานขององค์กรผู้บริโภคที่ผ่านการรับรองดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงการทำงานที่มีคุณภาพทั้งในระดับพื้นที่และระดับที่สูงกว่า เช่น จังหวัด ภูมิภาค ประเทศ รวมไปถึงระดับสากล อย่างเช่นมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ซึ่งเป็นตัวอย่างองค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นสูง ที่มีความร่วมมือกับสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล (Consumers International) ซึ่งมีส่วนช่วยยกระดับความสามารถขององค์กรผู้บริโภคภายในประเทศให้ทันต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก สะท้อนความเข้มแข็งของเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคไทยให้เป็นที่ประจักษ์ได้อย่างดี” นพ.มงคล กล่าว

♦พิธีมอบใบประกาศรับรององค์กรผู้บริโภค

จากนั้นเป็นพิธีมอบใบประกาศองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ โดยได้รับเกียรติจาก นพ.มงคล ณ สงขลา เป็นประธาน ร่วมด้วย นางรัศมีวิศทเวท รองประธานคณะกรรมการประสานยุทธศาสตร์ฯ นายพิฆเนศ ต๊ะปวง รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผศ.ดร.รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ประธานมูลนิธิวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ และ ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มอบใบประกาศฯ ให้องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ

องค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นสูง 19 องค์กร
องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ ภาคเหนือ
องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ ภาคใต้
องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ ภาคตะวันออก และ กลาง
องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ ภาคตะวันตก
องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ กรุงเทพมหานคร

© ภาพพิธีมอบใบประกาศรับรององค์กรผู้บริโภคคุณภาพ 2561

♦ ข่าวที่เกี่ยวข้อง


[i] องค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นสูง 19 องค์กร ได้แก่

  1. สมาคมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา
  2. มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา
  3. เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ จังหวัดลำปาง
  4. เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์จังหวัดลำพูน
  5. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดหนองบัวลำภู
  6. สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น
  7. สมาคมผู้บริโภคจังหวัดร้อยเอ็ด
  8. สมาคมคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาคตะวันออก
  9. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดอ่างทอง
  10. สมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม
  11. สมาคมผู้บริโภคภาคตะวันตก
  12. ศูนย์คุ้มครองสิทธิ์ผู้บริโภค จังหวัดราชบุรี
  13. สมาคมคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  14. สมาคมผู้บริโภคสุราษฎร์ธานี
  15. เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดกระบี่
  16. สมาคมประชาสังคมชุมพร
  17. สมาคมผู้บริโภคสงขลา
  18. สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดปัตตานี
  19. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดสตูล (ปัจจุบัน เปลี่ยนสถานะเป็น “สมาคมผู้บริโภคสตูล”)

[ii] องค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นพื้นฐาน 222 องค์กร ได้แก่

  1. เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดกระบี่
  2. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอปลายพระยา
  3. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภออ่าวลึก
  4. ศูนย์สิทธิผู้บริโภคเขตคลองสาน
  5. ศูนย์สิทธิผู้บริโภคเขตจอมทอง
  6. ศูนย์สิทธิผู้บรโภคเขตทุ่งครุ
  7. ศูนย์สิทธิผู้บริโภคเขตธนบุรี
  8. ศูนย์สิทธิผู้บริโภคเขตบางขุนเทียน
  9. ศูนย์สิทธิผู้บริโภคเขตบางแค
  10. ศูนย์สิทธิผู้บริโภค เขตราษฎร์บูรณะ
  11. ศูนย์สิทธิผู้บริโภค เขตคลองสามวา
  12. ศูนย์สิทธิผู้บริโภค เขตประเวศ
  13. ศูนย์สิทธิผู้บริโภค เขตสะพานสูง
  14. ศูนย์สิทธิผู้บริโภค เขตมีนบุรี
  15. ศูนย์สิทธิผู้บริโภค เขตดุสิต
  16. ศูนย์สิทธิผู้บริโภค เขตบางเขน
  17. ศูนย์สิทธิผู้บริโภค เขตหลักสี่
  18. ศูนย์สิทธิผู้บริโภค เขตสายไหม
  19. ศูนย์สิทธิผู้บริโภค เขตจตุจักร
  20. ศูนย์สิทธิผู้บริโภค เขตดอนเมือง
  21. ศูนย์สิทธิผู้บริโภค เขตบางบอน
  22. ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค เขตตลิ่งชัน
  23. สมาคมเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
  24. ศูนย์สิทธิผู้บริโภคแรงงานนอกระบบภาค กรุงเทพมหานครฯ
  25. ชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย
  26. ศูนย์สิทธิผู้บริโภคเขตบางซื่อ
  27. ศูนย์สิทธิผู้บริโภคเขตพญาไท
  28. ศูนย์สิทธิผู้บริโภคเขตพระนคร
  29. ศูนย์สิทธิผู้บริโภคเขตหนองแขม
  30. ศูนย์สิทธิผู้บริโภคเขตบางกอกน้อย
  31. ศูนย์สิทธิผู้บริโภคเขตคันนายาว
  32. ศูนย์สิทธิผู้บริโภคเขตลาดกระบัง
  33. ศูนย์สิทธิผู้บริโภคเขตหนองจอก
  34. ศูนย์สิทธิผู้บริโภคเขตบึงกุ่ม
  35. ศูนย์สิทธิผู้บริโภคเขตบางพลัด
  36. ศูนย์สิทธิผู้บริโภคเขตบางรัก
  37. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคกาญจนบุรี
  38. ชมรม อสม.เทศบาลเมื่องกาญจนบุรี
  39. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดกาญจนบุรี
  40. เครือข่ายพลังสังคมจังหวัดกาญจนบุรี
  41. สมาคมคนพิการอำเภอไทรโยค
  42. สมาคมคนพิการจังหวัดกาญจนบุรี
  43. เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีจังหวัดกาญจนบุรี
  44. ศูนย์คุ้มครองสิทธิตำบลปากแพรก
  45. กลุ่มคนรักสุขภาพบ้านเขาใหญ่
  46. ศูนย์ประสานงานสิทธิชุมชน
  47. เครือข่ายประชาชนคุ้มครองสิทธิ์ตำบลท่าเสา
  48. สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น
  49. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดขอนแก่น
  50. ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบจังหวัดขอนแก่น
  51. ชมรมอาสาสมัครเพื่อผู้บริโภคอำเภอชุมแพ
  52. สมาคมคนพิการจันทบูร
  53. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดจันทบุรี
  54. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดจันทบุรี(ประเด็นเกษตร)
  55. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดฉะเชิงเทรา (ประเด็นเกษตร)
  56. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดฉะเชิงเทรา
  57. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดฉะเชิงเทรา(ประเด็นคนพิการ)
  58. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดชลบุรี (ประเด็นเด็กและเยาวชน)
  59. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดชลบุรี
  60. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
  61. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนอำเภอปะทิว2 จังหวัดชุมพร
  62. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนอำเภอปะทิว1 จังหวัดชุมพร
  63. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
  64. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนอำเภอพะโต๊ะ
  65. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนอำเภอละแม จังหวัดชุมพร
  66. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนอำเภอสวี จังหวัดชุมพร
  67. สมาคมประชาสังคมชุมพร
  68. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบตำบลแม่อ้อ
  69. เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดด์จังหวัดเชียงราย
  70. ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดเชียงราย
  71. สมาคมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา
  72. ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ ตำบลแม่ไร่
  73. เครือข่ายแรงงานนอกระบบตำบลดอยงาม
  74. ศูนย์ประสานงานบริการชุมชนแม่สรวย
  75. กลุ่มมะขามป้อม อำเภอเวียงชัย
  76. ศูนย์ประสานงานและบริการชุมชน ตำบลสันติสุข
  77. เครือข่ายรักษ์สุขภาพตำบลทรายขาว
  78. เครือข่ายแรงงานนอกระบบตำบลต้า
  79. เครือข่ายแรงงานนอกระบบตำบลสันมะเค็ด
  80. กลุ่มสู่ขวัญดอยหลวง
  81. เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ อำเภอดอยหล่อ
  82. มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์
  83. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพและศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาคประชาชนจังหวัดเชียงใหม่
  84. เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ จังหวัดเชียงใหม่
  85. ชมรมใจเขาใจเรา
  86. ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ จังหวัดเชียงใหม่
  87. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดตราด (ประเด็นผู้ติดเชื้อ HIV)
  88. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดนครปฐม
  89. สถาบันการเงินชุมชนตำบลสวนป่าน
  90. ศูนย์ท่าจีนศึกษา จังหวัดนครปฐม
  91. สหภาคีความร่วมมือภาคประชาชน จังหวัดนครปฐม
  92. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดนนทบุรี
  93. “สมาคมเครือข่ายผู้บริโภคและสร้างเสริมสุขภาวะอำเภอเมืองบุรีรัมย์
  94. เครือข่ายตลาดนัดสีเขียวจังหวัดบุรีรัมย์
  95. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนตำบลโคกสะอาด
  96. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอำเภอกุยบุรี
  97. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอำเภอทับสะแก
  98. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอำเภอบางสะพาน
  99. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอำเภอบางสะพานน้อย
  100. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอำเภอปราณบุรี
  101. เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  102. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
  103. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  104. หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียนลำดับที่ 28 ประจวบคีรีขันธ์
  105. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอำเภอสามร้อยยอด
  106. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอำเภอหัวหิน
  107. สมาคมคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  108. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอโคกโพธิ์
  109. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอปะนาเระ
  110. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอเมืองปัตตานี
  111. สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดปัตตานี
  112. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอยะรัง
  113. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอหนองจิก
  114. กลุ่มสู่ชีวิตใหม่ อ.จุน
  115. มูลนิธิ YMCA จังหวัดพะเยา
  116. กลุ่มสายธารน้ำใจตำบลหนองหล่ม
  117. กลุ่มน้ำกว๊านหลากสี
  118. กลุ่มบานบุรี อำเภอปง
  119. กลุ่มสายธารสู่น้ำใจ อำเภอภูกามยาว
  120. กลุ่มฮักภูซาง
  121. เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์จังหวัดพะเยา
  122. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จังหวัดพะเยา
  123. ศูนย์องค์รวมอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
  124. ประชาคมเอดส์ตำบลบ้านต๊ำ
  125. มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา
  126. กลุ่มเกษตรเพื่อการผลิตตำบลแม่สุก
  127. กลุ่มสร้างสรรค์พลังใจ 42 ตำบลแม่สุก
  128. กลุ่มหมอพื้นบ้านตำบลแม่สุก
  129. คณะกรรมการเอดส์ตำบลแม่สุก
  130. อสม.หมู่ 4 ต.ท่าคอย จังหวัดเพชรบุรี
  131. กลุ่มออมทรัพย์ไร่โคก
  132. ธนาคารขยะ หมู่ 6 บ้านนากระแสน
  133. กลุ่มนันทนาการไรเพนียด
  134. สภาองค์กรชุมชนตำบลไร่ส้ม
  135. กองทุนสวัสดิการตำบลไร่ส้ม
  136. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านไร่กล้วย
  137. ชมรมจิตอาสาสร้างเสริมสุขภาพชุมชนคนบ้านหม้อ
  138. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดเพชรบุรี
  139. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลเทอดไทย อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
  140. สมาคมผู้บริโภคร้อยเอ็ด
  141. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคบ้านขวาว
  142. ศูนย์ประสานงานหลัประกันสุขภาพประชาชนตำบลธงธานี
  143. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ตำบลเชียงใหม่
  144. สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคภาคตะวันออก
  145. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดระยอง(ประเด็นผู้สูงอายุ)
  146. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดระยอง
  147. ศูนย์คุ้มครองสิทธิ์ผู้บริโภคจังหวัดราชบุรี มูลนิธิประชาคมราชบุรี
  148. กองทุนพัฒบทบาทสตรีตำบลบ้านคา
  149. กลุ่มศูนย์เรียนรู้สืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นกะเหรี่ยง
  150. ธนาคารขยะรีไซเคิล จังหวัดราชบุรี
  151. กองทุนที่ดินและที่อยู่อาศัยทุ่งหลวง
  152. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคตำบลนาแส่ง
  153. สมาคมเครือข่ายคนรักสิ่งแวดล้อมลำปาง
  154. กลุ่มเขลางค์เพื่อการพัฒนา
  155. กลุ่มลำปางหนา
  156. เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ จังหวัดลำปาง
  157. ชมรมเพื่อนแก้ว
  158. กลุ่มชาววัง (วังเหนือ)
  159. กลุ่มรวมน้ำใจ
  160. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคตำบลแม่กัวะ
  161. กลุ่มแสงตะวัน
  162. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคตำบลหนองหล่ม
  163. ชมรมพลังใหม่2001
  164. ชมรมคนพิการตำบลแม่กวัะ
  165. กลุ่มทานตะวัน
  166. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคตำบลเสริมซ้าย
  167. ชมรมใจประสานใจ
  168. ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคตำบลต้นธงชัย
  169. กลุ่มฮ่วมใจ๋หล่ายดอย
  170. ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านตำบลป่าไผ่
  171. สมาคมสวัสดิการเพื่อผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสอำเภอลี้
  172. กลุ่มเอ็มลี้รักสุขภาพ
  173. กลุ่มพึ่งพาตนเองบ้านแม่ป๊อก
  174. กลุ่มอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาชุมชนและการคุ้มครองสิทธิ (VCAP)
  175. เครือข่ายกะเหรียงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำพูน
  176. กลุ่มช่วยเพื่อนชาวลี้
  177. กลุ่มเยาวชนตำบลทากาศ
  178. กลุ่มฟ้าหลังฝน
  179. กลุ่มทอผ้าบ้านแม่ขนาด
  180. เครื่ข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ลำพูน
  181. สมาคมผู้บริโภคสงขลา
  182. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอกระแสสินธุ์
  183. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอคลองหอยโข่ง
  184. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอจะนะ
  185. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอนาหม่อม
  186. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอเมืองสงขลา
  187. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอรัตภูมิ
  188. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอสทิงพระ
  189. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอสะเดา
  190. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอสิงหนคร
  191. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอหาดใหญ่
  192. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคอำเภอท่าแพ
  193. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคอำเภอทุ่งหว้า
  194. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคอำเภอมะนัง
  195. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดสตูล (ปัจจุบัน เปลี่ยนสถานะเป็น “สมาคมผู้บริโภคสตูล”)
  196. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคอำเภอควนกาหลง
  197. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคอำเภอควนโดน
  198. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคอำเภอเมืองสตูล
  199. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคอำเภอละงู
  200. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรปราการ (ประเด็นเกษตร)
  201. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรปราการ(ประเด็นผู้สูงอายุ)
  202. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอบางคนที
  203. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอเมืองสมุทรสงคราม
  204. สมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม
  205. สมาคมผู้บริโภคภาคตะวันตก
  206. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภออัมพวา
  207. ชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านบ่อ จังหวัดสมุทรสาคร
  208. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสาคร
  209. สถานีวิทยุชุมชนปฐมสาคร
  210. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดสระแก้ว
  211. ศูนย์เพื่อผู้บริโภคจังหวัดสุพรรณบุรี
  212. สมาคมผู้บริโภคสุราษฎร์ธานี
  213. ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคอำเภอคีรีรัฐนิคม
  214. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอำเภอท่าชนะ
  215. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
  216. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอำเภอท่าฉาง
  217. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอำเภอพุนพิน
  218. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอำเภอไชยา
  219. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดหนองบัวลำภู
  220. สมาคมคนพิการจังหวัดหนองบัวลำภู
  221. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดอ่างทอง
  222. เครือข่ายPHAจังหวัดแพร่