ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “กฎหมายใหม่ คุ้มครองผู้บริโภค หรือไม่ อย่างไร”

แผนงานพัฒนาวิชาการและสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรม จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “กฎหมายใหม่ คุ้มครองผู้บริโภค หรือไม่ อย่างไร” ระหว่างวันที่ ๒๘-๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๒ ณ ห้องยุคลธร โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน ๖๐ คน ประกอบด้วย วิทยากร และเภสัชกรด้านคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรบรรยายและแลกเปลี่ยนเรื่องกฎหมายใหม่ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคดังนี้

ภก.วินิต อัศวกิจวีรี  อดีตผู้ทรงคุณวุฒิ อย. และภก.วราวุธ เสริมสินสิริ  ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร อย.เรื่อง พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.๒๕๖๒ : การเปลี่ยนผ่านจาก “ยา” “อาหาร” ไปเป็น “ผลิตภัณฑ์สมุนไพร” ข้อดีและข้อด้อยที่ส่งผลกระทบต่อระบบยาและอาหาร ต่อการคุ้มครองผู้บริโภค และ การควบคุมก่อนและหลังผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาด

ภก.วินิต อัศวกิจวีรี  อดีตผู้ทรงคุณวุฒิ เรื่อง พระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๖๒ : สาระใหม่ที่แตกต่างจากฎหมายปัจจุบัน ข้อดีของกฎหมายใหม่ และผลกระทบจากพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.๒๕๖๒

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เรื่อง พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคพ.ศ.๒๕๖๒ :ความสำคัญ บทบาทและภารกิจ ของสภาองค์กรผู้บริโภค และความท้าทายในการจัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภค

นายโสภณ  หนูรัตน์ นักวิชาการกฎหมาย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๔ ) พ.ศ. ๒๕๖๒ : ข้อดีและข้อด้อย และกลไกจัดการสินค้าไม่ปลอดภัย ในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติ  นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน และ ภก.ธนพัฒน์ เลาวหุตานนท์    สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.๒๕๖๒ : ร้านยาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และการขยายผลในพื้นที่อื่นๆ

ผศ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี  ผู้จัดการแผนงาน กพย. ภญ.ขนิษฐา ตันติศิรินทร์  ผู้อำนวยการกองวัตถุเสพติด และ ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เรื่อง พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๖๒: กัญชา กฎหมายเปิดเสรีกัญชาระดับใด และตัวอย่างเภสัชกรที่ดำเนินการเกี่ยวกับกัญชา

ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการนำเสนอของวิทยากรได้ดังนี้

  1. พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.๒๕๖๒ โดย ภก.วินิต อัศวกิจวีรี
  2. พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.๒๕๖๒ โดย ภก.วราวุธ เสริมสินสิริ
  3. พระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๖๒ โดย ภก.วินิต อัศวกิจวีรี
  4. พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคพ.ศ.๒๕๖๒ โดย นางสาวสารี อ๋องสมหวัง
  5. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๔ ) พ.ศ. ๒๕๖๒ โดย นายโสภณ หนูรัตน์
  6. พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.๒๕๖๒ โดย ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติ
  7. พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.๒๕๖๒ โดย ภก.ธนพัฒน์ เลาวหุตานนท์
  8. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๖๒: กัญชา โดย ผศ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี
  9. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๖๒: กัญชา โดย ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว