โครงการพัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค (ภาคเหนือ)

โครงการพัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ภาคเหนือ

เพื่อดำเนินงานตามองค์การอิสระผู้บริโภคภาคประชาชน ภาคเหนือจัดเวทีพัฒนาศักยภาพการรับเรื่องร้องเรียนให้ทีมทำงานของศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค 16 จังหวัด ภาคเหนือ มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีผู้เข้าร่วมจำนวน 46 คน

โดยมีแกนนำศูนย์คุ้มครองสิทธิจำนวน 16 จังหวัดเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว และมีวิทยากรจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ .พะเยา และภาคเหนือร่วมเป็นวิทยากร

โดยมีเนื้อหาสำคัญ คือการสร้างความรู้เรื่ององค์ประกอบที่สำคัญของการทำงานรับเรื่องร้องเรียน ทักษะการรับเรื่องร้องเรียน เช่น การวิเคราะห์ประเด็นการรับเรื่องร้องเรียน การเขียนแบบรับเรื่องร้องเรียน การเขียนจดหมายถึงหน่วยงาน และการเติมความรู้เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การคุ้มครองผู้บริโภค

เป็นกิจกรรมที่เน้นการฝึกปฎิบัติ ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มและรายจังหวัดเพื่อให้ แกนนำและทีมทำงาน ศูนย์คุ้มครองสิทธิฯสามารถทำงานรับเรื่องร้องเรียนได้

(13-15 ..56)

โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้บริโภคเพื่อองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค (ภาคกลาง)


โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้บริโภคเพื่อองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค (ภาคกลาง)

(11-12 พ.ย.56) จัดอบรมเชิงปฏิบัติ การรับเรื่องการร้องเรียน/แก้ไขปัญหาใน ณ.โฮมสเตร์ไทรน้อยบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลักสูตร “เทคนิคการรับเรื่องร้องเรียนอย่างมืออาชีพโดยมี นางสาวเสาวนีย์ ฉ่ำเฉลียว ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เป็นวิทยากร ผู้รับการอบรมประกอบด้วย แกนนำศูนย์ในระดับอำเภอและตำบลและมีแกนนำจากศูนย์ขยาย คือจังหวัดนครนายก และ ปทุมธานี เข้าร่วมในการอบรมในครั้งนี่ด้วย

ทั้งนี้ก็เพื่อให้แกนนำศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในพื้นที่ภาคกลาง ได้มีความรู้ความเข้าใจในการรับเรื่องร้องเรียนและสามารถรับเรื่องร้องเรียน และแก้ไขปัญหา/ส่งต่อไปให้กับทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนและสามารถวางแผนกระบวนการทำงานของศูนย์คุ้มครองสิทธิในระดับจังหวัด ได้ในการมีฐานข้อมูลในการทำงานรับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหา แกนนำศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค มีแนวคิดความเข้าใจในการทำงาน สามารถคิดและวิเคราะห์การทำงานที่เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และมองเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเรื่องที่จำเป็น

(15-16 พ.ย.56) จัดเวทีพัฒนาศักยภาพการคุ้มครองผู้บริโภคของแกนนำระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบล ณ.บ้านไร่สมเกียจ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรีหลักสูตร “เขียนเป็น จับประเด็นได้” โดยมีวิทยากรจากมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ผู้เข้าร่วมประกอบไปด้วยเครือข่ายแกนนำในพื้นที่การทำงานทั้ง 8 จังหวัดในพื้นที่ภาคกลาง

ทั้งจังหวัดหลักและจังหวัดขยายเพื่อแกนนำศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในระดับพื้นที่จังหวัด/อำเภอ/ตำบลอย่างน้อย๓ คน มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค และเข้าใจกระบวนการทำงานของศูนย์คุ้มครองสิทธิในระดับจังหวัด แกนนำศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค มีแนวคิดความเข้าใจในการทำงาน สามารถคิดและวิเคราะห์การทำงานที่เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และมองเรื่องคุ้มครองผู้บริโภค

ประชุมFocus Group พิจารณาหลักเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ

ประชุมFocus Group พิจารณาหลักเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ

โดยเชิญผู้แทนองค์กรผู้บริโภคที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 องค์กร ร่วมให้ความเห็นต่อร่างหลักเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ

ผลจากการประชุมนำไปสู่การปรับหลักเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ และกำหนดรูปแบบการนำหลักเกณฑ์ฯไปใช้เพื่อการพัฒนา

(30 .. 56)

คคส. แถลงผลวิจัย”สารตะกั่วในสีทาอาคารและในเด็ก”

     คคส. ผนึกกำลังพันธมิตร ร่วมแถลงผลการศึกษา“สารตะกั่วในสีทาอาคารและในเด็ก” และงานสัมมนาเรื่อง “สีปลอดสารตะกั่ว นโยบายที่เป็นจริงได้”

แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ(คคส.) ร่วมกับมูลนิธิบูรณนิเวศ ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็กโรงพยาบาลรามาธิบดี และ คณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมแถลงผลการศึกษา“สารตะกั่วในสีทาอาคารและในเด็ก” และงานสัมมนาเรื่อง “สีปลอดสารตะกั่ว นโยบายที่เป็นจริงได้” ขึ้น

     ทั้งนี้ เพื่อ  1) เป็นการนำเสนอผลการศึกษาทางวิชาการเรื่องสารตะกั่วในสีและสารตะกั่วในเด็กต่อสาธารณะ

                    2) เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายของประเทศในการควบคุมสารตะกั่วในผลิตภัณฑ์สีทาอาคาร และการให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้บริโภค และมาตาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคทั่วไปและคนงาน โดยเฉพาะความปลอดภัยของเด็กจากพิษของสารตะกั่ว

                   3) เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการขับเคลื่อนทางนโยบายระดับโลกขององค์การอนามัยโลกและสหประชาชาติเพื่อการคุ้มครองสุขภาพเด็กจากพิษของสารตะกั่วจากสีทาอาคาร

อภิปราย เรื่อง “คุ้มครองผู้บริโภคกรณี แร่ใยหินและน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ…ท้องถิ่นช่วยได้”

การอภิปราย เรื่อง “คุ้มครองผู้บริโภคกรณี แร่ใยหินและน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ…ท้องถิ่นช่วยได้”

รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานฯ และ ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร หัวหน้าโครงการปฏิวัติน้ำมันทอดซ้ำ ได้รับเชิญจาก สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย เป็นวิทยากรในการอภิปราย เรื่อง “คุ้มครองผู้บริโภคกรณี แร่ใยหินและน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ…ท้องถิ่นช่วยได้”

(11พ.ย.56) รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานฯ และ ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร หัวหน้าโครงการปฏิวัติน้ำมันทอดซ้ำ ได้รับเชิญจากสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย เป็นวิทยากรในการอภิปราย เรื่อง “คุ้มครองผู้บริโภคกรณี แร่ใยหินและน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ…ท้องถิ่นช่วยได้”และนำเสนอและแลกเปลี่ยน “แนวทางการป้องกันมะเร็งจากแร่ใยหินและน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ โดยการออกข้อบังคับท้องถิ่น”ในการอบรมสัมมนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผู้บริหารและพนักงานส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2557 ณ โรงแรมลิตเติ้ลดั๊ก จังหวัดเชียงราย

ประชุมวิชาการ เรื่อง “ขนมเด็กเจ้าปัญหา … เราจะพากันไปไหน”

ประชุมวิชาการ เรื่อง  ขนมเด็กเจ้าปัญหาเราจะพากันไปไหน

แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ(คคส.) จัดประชุมวิชาการ เรื่อง  ขนมเด็กเจ้าปัญหาเราจะพากันไปไหน ณ ห้องประชุม 210 อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

 

ทั้งนี้ก็เพื่อประมวลสถานการณ์ปัญหาขนมเด็กด้อยคุณภาพในชุมชน และ หาแนวทางการจัดการปัญหาขนมเด็กด้อยคุณภาพในชุมชนโดยได้รับเกียรติจาก สื่อมวลชน และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน ร่วมบรรยายและอภิปราย

ผลจากการประชุมนำไปสู่แนวทางการดำเนินการเพื่อจัดการปัญหาฯ และนัดประชุมครั้งต่อไป 24 ธันวาคม 2556”

(5 ..56)

คคส.ดูงานที่สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ(คคส.)  และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี ศึกษาดูงานเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน งานวิจัย ณ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานเรื่องน้ำมันทอดซ้ำ

    โดยมี รศ.ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช ผู้อำนวยการสถาบันฯ กล่าวต้อนรับคณะศึกษาดูงานและบรรยายแนะนำสถาบันฯ บุคลากรสำคัญ การดำเนินงาน ผลงานวิจัยที่จดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ซึ่งมีกลุ่มงานวิจัยประกอบด้วย ด้านผลิตแอนติบอดีเทคโนโลยีการหมัก เทคโนโลยีทางอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร และด้านโปรตีนและวิศวกรรมพันธุศาสตร์

     จากนั้นผู้อำนวยการและนักวิจัยของสถาบันฯ ได้พาเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการทำงานของนักวิจัยในด้านต่างๆ และสร้างเครือข่ายเพื่อขอความอนุเคราะห์ในการดำเนินงานเรื่อง ชุดทดสอบน้ำมันทอดซ้ำ

คคส.จัดอบรมหลักสูตรพัฒนาผู้นำการจัดการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รุ่นที่ 2ครั้งที่ 3

แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ(คคส.)

จัดอบรมหลักสูตรพัฒนาผู้นำการจัดการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค  รุ่นที่ 2ครั้งที่ 3

 

จัดอบรมหลักสูตรพัฒนาผู้นำการจัดการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค (7-9 ก.ย.56)  รุ่นที่ 2ครั้งที่ 3  ณ  ห้อง De Pak C.Jain อาคารศศนิเวศน์  ชั้น  1  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จำนวนผู้เข้ารับ การอบรมจากหน่วยงานต่างๆ  จำนวน  22  คน

เป็นการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพในประเด็น

1) การสื่อสารเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

2) กรณีศึกษาการทำงานเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค

และนำเสนอความก้าวหน้างานวิจัยอิสระ (IS) ของผู้รับการอบรมแต่ละคน ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญคือ

1) การถอดบทเรียนเพื่อการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภค

2)  การพัฒนาเครื่องมือเพื่องานคุ้มครองผู้บริโภค

3) การศึกษาสถานการณ์ผู้บริโภคเพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย

4) วิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหา

 

seminar oc2556

 

ประชุมวิชาการ the 21st IUHPE World Conference on Health Promotion and Education

ประชุมวิชาการ the 21st IUHPE World Conference on Health Promotion and Education

วันที่ 25-29 สิงหาคม 2556  ณ ศูนย์ประชุม The PEACH พัทยา ชลบุรี

แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) คณะเภสัชศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและภาคีนักวิชาการด้านคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จำนวน 8 คน ร่วมงานประชุมวิชาการ the 21st IUHPE World Conference on Health Promotion and Education และนำเสนอผลงานวิชาการ จำนวน 7 เรื่อง ได้แก่ นำเสนอโดยการบรรยาย 1 เรื่อง คือ SOCIAL MEDIA ADVOCACY TO COUNTERACT PROPAGANDA ON SAFE USE OF CHRYSOTILE ASBESTOS IN THAILAND และนำเสนอโดยโปสเตอร์ 6 เรื่อง คือ

1) ELIMINATION OF LEAD FROM COLD WATER DISPENSER AND NOODLE POT IN UBON RATCHATHANI SCHOOL : HEALTH CONSUMER PROTECTION EDUCATIONAL PROGRAM

2) A-B-C CONSUMER PRODUCT SAFETY AND NATIONAL POLICY DEVELOPMENT IN THAILAND

3) QUANTIFYING THE CHANGE OF HEALTH CONSUMER PROTECTION SYSTEM IN THAILAND

4) Assessing Television Advertising on Junk Food to Children: Better or Worse

5) PRIORITIZING ISSUE RELATED WITH CONSUMER HEALTH RISK USING WEIGHTED SCORE FOR COMPARISON

6) THE IMPROVEMENT OF DRUG MANAGEMENT AFTER PHARMACIST INVOLVING IN PRIMARY CARE UNIT, THAILAND

คคส.จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ

     แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียรู้การดำเนินงานโครงการที่ผ่านมาระหว่างเครือข่าย ถอดบทเรียนการทำงาน และร่วมให้ความเห็นเพื่อปรับปรุง(ร่าง)แผนงาน คคส.ในระยะต่อไป โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยภาคีเครือข่าย คคส.ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาควิชาการ รวมทั้งคณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงาน จำนวน 40 คน

      การประชุมนี้ได้รับเกียรติจาก ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ บรรยายเรื่อง แผนคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ในสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. จากนั้นผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอผลการดำเนินโครงการและให้ข้อเสนอแนะต่อ คคส. ประกอบด้วย กลุ่มโครงการกลไกคุ้มครองผู้บริโภคระดับภาค 4 โครงการ, กลุ่มโครงการการจัดลำดับความสำคัญของสินค้าไม่ปลอดภัย และตัวอย่างการแก้ไขปัญหาสินค้าไม่ปลอดภัยที่ค้นพบ 4 โครงการ, โครงการจัดการความรู้ด้านคุ้มครองผู้บริโภค 4 โครงการ, กลุ่มโครงการเครือข่ายปฏิบัติการพื้นที่ 4 โครงการ และ กลุ่มโครงการจัดการปัญหาคุ้มครองผู้บริโภคนำร่อง 6 โครงการ จากนั้นเป็นการแบ่งกลุ่มภาคีเครือข่าย เพื่อร่วมวางแผนการดำเนินงานกับ คคส.ในระยะต่อไป