แผนงานวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และภาคีเครือข่าย ร่วมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้และพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ปีงบประมาณ 2566 ครั้งที่ 1/2565 เรื่อง การพัฒนาสู่จังหวัดใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU Province) เพื่อมุ่งสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล ระหว่างวันที่ 19-20 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ ในรูปแบบ onsite และ online
คลังเก็บ: ข่าว
NEWS post type
ตรวจประเมินองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ 4 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แผนงานฯ ร่วมกับสมาคมผู้บริโภคขอนแก่น จัดเวทีประเมินองค์กรผู้บริโภคคุณภาพและต่ออายุองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ ขั้นพื้นฐานและขั้นสูง วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๕ ณ โรงแรมขอนแก่นโฮเตล จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีองค์กรผู้บริโภคที่สมัครรับการประเมิน รวม ๒๑ องค์กร ประกอบด้วย ต่ออายุขั้นสูง ๑ องค์กร ประเมินเป็นขั้นสูง ๑ องค์กร ต่ออายุขั้นพื้นฐาน ๔ องค์กร และประเมินเป็นขั้นพื้นฐาน ๑๔ องค์กร ผลจากการประเมิน นำไปสู่ข้อเสนอแนะในการพัฒนาองค์กรด้านกระบวนการทำงานเพื่อองค์กรผู้บริโภคให้ยังคงรักษาความเป็นองค์กรผู้บริโภคคุณภาพต่อไป
ตรวจประเมินองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ 5 จังหวัดภาคเหนือ
แผนงานวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ(คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกลไกเขต มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนนา และหน่วยงานประจำจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา และ เชียงราย สภาองค์กรของผู้บริโภค จัดเวทีประเมินองค์กรผู้บริโภคคุณภาพและต่ออายุองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ ขั้นพื้นฐานและขั้นสูง ระหว่างวันที่ 14-17 มกราคม 2565 ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย ซึ่งมีองค์กรผู้บริโภคทีสมัครรับการประเมิน รวม 83 องค์กร ประกอบด้วย ต่ออายุขั้นสูง 4 องค์กร ประเมินเป็นขั้นสูง 1 องค์กร ต่ออายุขั้นพื่นฐาน 49 องค์กร และประเมินเป็นขั้นพื้นฐาน 29 องค์กร ผลจากการประเมิน นำไปสู่ข้อเสนอแนะในการพัฒนาองค์กรด้านกระบวนการทำงานเพื่อองค์กรผู้บริโภคให้ยังคงรักษาความเป็นองค์กรผู้บริโภคคุณภาพต่อไป
ทั้งนี้คณะผู้ประเมินองค์กรผู้บริโภคคุณภาพประกอบด้วย
1. รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ (ออนไลน์)
2. รศ.ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ
3. รศ.ดร.ธงชัย สุขเศวต
4. ภญ.สรีรโรจน์ สุกมลสันต์
5. อ.ปิยรัตน์ ศรีวิริยานุภาพ
6. ภก.จิระ วิภาสวงศ์ (เชียงใหม่ ลำพูน)
7. ภญ.จันทนา ลี้สวัสดิ์ (ลำปาง)
ตรวจประเมินองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ จังหวัดศรีสะเกษ
แผนงาน คคส. ดำเนินการตรวจประเมินองค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นพื้นฐาน เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งนายแพทย์ทนง วีระแสงพงษ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ มอบหมายให้ ภญ.มัลลิกา สุพล หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชศาสตร์สาธารณสุข กล่าวต้อนรับ คณะผู้ประเมินองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย รศ.ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ภก.บรรเจิด เดชาศิลป์ และ ภญ.สรีรโรจน์ สุกมลสันต์
ทั้งนี้องค์กรผู้บริโภคจังหวัดศรีสะเกษที่ยื่นความประสงค์รับรององค์กรคุณภาพขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิ้น 52 องค์กร ซึ่ง คคส.ร่วมกับผู้ประสานเครือข่าย จัดให้มีการประเมินโดยคณะผู้ประเมินโดยตรง สำหรับองค์กรผู้บริโภคจังหวัดศรีสะเกษ สรุปผลการตรวจประเมินคือ องค์กรผู้บริโภค ที่ยื่นความประสงค์รับรององค์กรคุณภาพขั้นพื้นฐาน ผ่านการประเมินจำนวน 50 องค์กร* (ร้อยละ 96.15) และ ยังไม่ผ่านการประเมิน จำนวน 2 องค์กร
* รายชื่อองค์ที่ผ่านการประเมิน
1. กลุ่มสำนึกรักบ้านเกิดศรีตระกูล
2. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคตำบลกันทรอม
3. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคบ้านกราม
4. องค์กรปลูกผักปลอดสารเพื่อบริโภค รพ.สต.ห้วยจันทร์
5. ชมรมเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน
6. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค “กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ” ตำบลกระหวัน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
7. องค์กรเขินก้าวไกล ใส่ใจคุ้มครองผู้บริโภค
8. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคชุมชนหนองแวง
9. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคตำบลคูบ
10. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคตำบลตองปิด
11. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคตำบลน้ำเกลี้ยง
12. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคตำบลรุ่งระวี
13. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคตำบลละเอาะ
14. องค์กรผู้บริโภคชุมชนบ้านเป๊าะ
15. ชมรมเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหว้าน
16. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค รพ.สต.ดอนหลี่
17. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อสุขภาพ รพ.สต.กะดึ
18. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคกำแมด
19. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
20. ชมรมเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคชุมชนสวาย ตำบลสวาย
21. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลพิมายเหนือ
22. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค รพ.สต.กู่
23. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลตูม
24. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเวียง
25. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลดู่
26. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคชุมชนบ้านหนองกอง
27. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ตำบลไพรบึง
28. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคตำบลละลม
29. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลตะดอบ
30. ชมรมรวมพลังคุ้มครองผู้บริโภคตำบลโพธิ์
31. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคตำบลน้ำคำ เขต 2
32. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลหญ้าปล้อง
33. ชมรมเครือข่ายบึงบอนคุ้มครองผู้บริโภค
34. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลลิ้นฟ้า
35. ชมรมเครือข่ายคอนกามเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
36. ชมรมเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคตำบลยางชุมใหญ่
37. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลกุดเมืองฮาม
38. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคชุมชนตำบลโนนคูณ
39. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคบ้านหลุบโมก
40. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลเสื่องข้าว
41. ชมรมเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคชุมชนหนองถ่ม
42. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคบ้านโคน
43. ชมรมอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคตำบลศรีโนนงาม
44. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลศรีแก้ว
45. ชมรมอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคตำบลพิงพวย
46. ชมรมอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคตำบลตูม
47. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลสะพุง
48. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคบ้านหนองโดน
49. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลขะยูง
50. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคตำบลกำแพง
ชุดความรู้เกี่ยวกับกัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชา-กัญชง เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
สภาเภสัชกรรม ร่วมกับ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาฯ-สสส. ได้จัดทำโครงการจัดการความรู้เกี่ยวกับกัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชา-กัญชง เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ (1) กัญชากับการควบคุมตามกฎหมาย (2) ความรู้พื้นฐานทางพฤกษศาสตร์ที่เกี่ยวกับพืชกัญชา (3) ข้อมูลที่จำเป็นในการวางระบบกำกับดูแลกัญชาและกัญชง (4) การจัดการความรู้ยากัญชาสำหรับเภสัชกร (5) การใช้กัญชา-กัญชง เป็นอาหาร และ (6) การใช้กัญชา-กัญชง เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง โดยได้เรียนเชิญนักวิชาการจากคณะเภสัชศาสตร์และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทำการจัดการความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับกัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชา-กัญชงในประเด็นต่างๆและจัดเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างผู้เขียน บรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อปรับปรุงเอกสารวิชาการจัดการความรู้และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้อง
หวังว่า หนังสือทั้ง 6 เล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับเภสัชกรและผู้ที่สนใจ
รศ. ดร. ภญ. จิราพร ลิ้มปานานนท์
นายกสภาเภสัชกรรม
รศ. ดร. ภญ.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ
ผู้จัดการศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.)
15 พฤศจิกายน 2564
ดาวน์โหลดหนังสือ
(1) กัญชากับการควบคุมตามกฎหมาย
(2) ความรู้พื้นฐานทางพฤกษศาสตร์ที่เกี่ยวกับพืชกัญชา
(3) ข้อมูลที่จำเป็นในการวางระบบกำกับดูแลกัญชาและกัญชง
(4) การจัดการความรู้ยากัญชาสำหรับเภสัชกร
(5) การใช้กัญชา-กัญชง เป็นอาหาร
(6) การใช้กัญชา-กัญชง เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง
ประชุมวิชาการ วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท.) สภาเภสัชกรรม ประจำปี 2564
ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ร่วมกับ วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท.) จัดประชุมวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพด้านสุขภาพ ในวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๔ ทางระบบ webinar ออนไลน์ โดยมีผู้ร่วมประกอบด้วยเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และโรงพยาบาล จำนวน ๑๓๕ คน โดยมีเนื้อหาในการประชุมคือ (๑) อภิปรายหัวข้อ “ข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภค : CPTPP และ ASEAN Harmonization” (๒) บรรยายหัวข้อ “อัพเดตกฎหมายลูกของผลิตภัณฑ์สมุนไพรกับการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม” (๓) อภิปรายหัวข้อ “บทบาทวิชาชีพเภสัชกรรมในยุค Covid Disruptions” (๔) อภิปรายหัวข้อ “ความก้าวหน้าและสิทธิอันชอบธรรมของวิชาชีพเภสัชกรรมในระบบราชการ” และ (๕) อภิปรายทั่วไป ภาพฝันวิชาชีพเภสัชกรรมในทศวรรษ
การรับสมัครประเมินองค์กรผู้บริโภค ขั้นพื้นฐาน และขั้่นสูง
ประกาศแผนงานวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
ที่ ๓/๒๕๖๔
การรับสมัครองค์กรผู้บริโภค
เพื่อรับการประเมินต่ออายุองค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นพื้นฐาน และขั้นสูงประจำปี ๒๕๖๐
และ เพื่อรับการประเมินเป็นองค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นพื้นฐาน และขั้นสูงประจำปี ๒๕๖๔
ตามที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยแผนควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับทิศด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพและพัฒนาระบบยา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพและการพัฒนาระบบยา เพื่อจัดการความรู้ และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการพัฒนากลไกและผลักดันนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการที่มีประสิทธิผลในการควบคุมสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทั้งในภาครัฐและภาคประชาชน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพและการพัฒนาระบบยาของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เพื่อให้การดำเนินงานประเมินองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ ของกลุ่มแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพและการพัฒนาระบบยา ในส่วนที่ สสส.ให้การสนับสนุนดังกล่าว เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แผนงานวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคคุณภาพ จึงขอประกาศ รับสมัครองค์กรผู้บริโภคเพื่อรับการประเมินต่ออายุองค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นพื้นฐาน และขั้นสูงประจำปี ๒๕๖๔ และ เพื่อรับการประเมินเป็นองค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นพื้นฐาน และขั้นสูงประจำปี ๒๕๖๔ โดย เปิดรับสมัครส่งเอกสารระหว่างวันที่ 1-30 ตุลาคม 2564 มีรายละเอียดดังนี้
ระยะเวลาการรับสมัคร และขั้นตอนการประเมินองค์กรคุณภาพ และคุณสมบัติ และเอกสารหลักฐาน
ส่งไฟล์แบบคำขอ และเอกสารหลักฐานตามหลักเกณฑ์การประเมิน ปิดระบบออนไลน์แล้ว
แบบประเมินตนเอง ต่ออายุ องค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นพื้นฐาน
แบบประเมินตนเอง ต่ออายุ องค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นสูง
แบบประเมินตนเอง เป็นองค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นพื้นฐาน ประจำปี 2564
แบบประเมินตนเอง องค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นสูง ประจำปี 2564
แบบขอรับการประเมินองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ
HCP-01 แบบขอต่ออายุองค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นพื้นฐาน
HCP-02 แบบขอต่ออายุองค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นพื้นสูง
HCP-03 แบบขอรับองค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นพื้นฐาน
HCP-04 แบบขอองค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นพื้นสูง
ภาคผนวก ๑ หลักเกณฑ์ประเมินองค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นพื้นฐาน
ภาคผนวก 1-1 แบบประเมิน ขั้นพื้นฐาน 2021
ภาคผนวก 1-2 คำอธิบายการให้คะแนนตามเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ
ภาคผนวก 1-3 การเตรียมเอกสารเพื่่ิอการประเมินขั้นพื้นฐานn
ภาคผนวก ๒ หลักเกณฑ์ประเมินองค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นสูง
ภาคผนวก 2-2 หลักเกณฑ์ประเมินองค์กรฯ ขั้นสูง
ภาคผนวก 2-3 คำแนะนำในการเขียนคำอฺธิบาย SAR form
มอบใบเกียรติบัตรองค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษ
นายแพทย์พิเชษฐ พืดขุนทด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ มอบใบเกียรติบัตรองค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นพื้นฐาน แก่ตัวแทนองค์กรผู้บริโภค จังหวัดศรีสะเกษ ๒๗ องค์กร จาก ๘ อำเภอ ในการประชุมคณะกรรมการประสานงานสาธารณะสุขระดับจังหวัดศรีสะเกษ ประจำเดือนธันวาคม ๒๕๖๓ (คปสจ.ศก.) ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ ณ ห้องประชุม ชั้น ๒ อาคารส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
สืบเนื่องจาก แผนงานพัฒนาวิชาการและสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ (มวคบ) และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทขององค์กรผู้บริโภคต่อการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย และมีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะประสานความร่วมมือในการพัฒนาระบบการรับรององค์กรผู้บริโภคคุณภาพ จึงจัดการประเมินองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคคุณภาพ จังหวัดศรีสะกษ เมื่อวันที่ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อพัฒนาศักยภาพองค์กรผู้บริโภคในจังหวัดศรีสะเกษ ให้ร่วมขับเคลื่อนการทำงานของสภาองค์กรผู้บริโภค ภายใต้พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๖๒
นำเสนอผลการศึกษาของเภสัชกรปฐมภูมิ (FCPL) ปี 2563
แผนงานพัฒนาวิชาการและสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภค (คคส.) จุฬาฯ – สสส. ร่วมกับ สภาเภสัชกรรม และ สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ (สสป.) กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุมเพื่อนำเสนอผลการศึกษาของเภสัชกรปฐมภูมิ ตามหลักสูตรอบรมระยะสั้นเภสัชกรรมปฐมภูมิ: ครอบครัวและชุมชน ปี 2563 นำเสนอรายงานการวิจัย/การศึกษาเกี่ยวกับงานเภสัชกรรมปฐมภูมิในพื้นที่ของผู้เข้าอบรมจำนวน 128 คน ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ภญ.พรพรรณ สุนทรธรรม ประธานคณะอนุกรรมการเภสัชกรรมปฐมภูมิ ผศ.(พิเศษ) ภญ.ดร.รุ่งทิวา หมื่นปา รพ.ลำปาง และ รศ.ภญ.ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ ผู้จัดการ คคส. ร่วมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นต่อรายงาน
แบ่งการนำเสนอดังนี้ (1) วันที่ 9-12 กันยายน 2563 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ ผู้เข้าอบรมจำนวน 56 คน จากโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และสังกัดกรุงเทพมหานคร (ภาคใต้จำนวน 27 คน และภาคกลางจำนวน 29 คน) (2) วันที่ 19-20 กันยายน 2563 ณ ห้องฉัตรแก้ว โรงแรมเอเซียลำปาง ผู้เข้าอบรมจำนวน 29 คน จากโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และ (3) วันที่ 28-30 กันยายน 2563 ณ ห้องศรีลำดวน 2 โรงแรมศรีลำดวน จ.ศรีสะเกษ โดยผู้เข้าอบรมจำนวน 44 คน จากโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
คู่มือเบื้องต้น การขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภค ด้วยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
คู่มือเบื้องต้น การขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภค ด้วยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เป็นการ ประมวล “แนวปฏิบัติที่ดี” ในการขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้วยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ หรือ พชอ. เป็นการประมวลข้อมูลจากประสบการณ์และบทเรียนการทำงานของ คณะทำงานโครงการจัดการสินค้าไม่ปลอดภัย ที่ขับเคลื่อนงานโดย กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ในพื้นที่ต่าง ๆ โดยมีระยะเวลาประมาณ 1 ปี โดยการสนับสนุนทางวิชาการจาก ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลังสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินโครงการ ผู้มีบทบาท “ขับเคลื่อนหลัก” จากพื้นที่นำร่องเหล่านี้ ได้เข้าร่วม การประชุมสรุปบทเรียนการดำเนินงานชุดโครงการต้นแบบการจัดการสินค้าไม่ปลอดภัย โดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ระหว่างวันที่ 12 -13 มีนาคม 2563 อันเป็น “ต้นทาง” ชอง “แนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงาน” ซึ่งมุ่งหมายถึง วิธีการทำงานที่ช่วยให้สามารถทำกิจกรรมบรรลุผลตามเป้าหมายได้
เนื้อหาในเล่ม ได้ประมวลเอาประสบการณ์และบทเรียนเด่น ๆ จากการดำเนินงานในกิจกรรมหลักของโครงการ ที่ได้แสดงถึงขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญในการดำเนินงานด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ (1) การค้นหา และคัดเลือกสินค้าไม่ปลอดภัย (2) การจัดทำแนวทางและแผนการจัดการสินค้าไม่ปลอดภัย ฯ และ (3) การดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยในแต่ละกิจกรรม จะพยายามแสดงให้เห็นเนื้อหาแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินกิจกรรม 4 เรื่องสำคัญ ได้แก่ (ก) เป้าหมายของกิจกรรม/การดำเนินงาน (ข) ขั้นตอนการดำเนินงาน (ค) วิธีการทำงานและเครื่องมือ และ (ง) ปัญหา ข้อจำกัด และการแก้ไข
dowload http://www.thaihealthconsumer.org/book/good-practice-guidelines-porchoror/