ประชุมสัมมนาแร่ใยหิน

เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการควบคุมสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินและมาตรการบังคับใช้กฎหมาย          [ 25 พฤศจิกายน 2553]
เอกสารที่ 1 : โครงการ กำหนดการ และบันทึกข้อตกลง

เอกสารที่ 2 : เอกสารประกอบคำบรรยายจากวิทยากร

เอกสารที่ 3 : แนวทางการดำเนินการ

เอกสารที่ 4 : เอกสารอ้างอิง

เอกสารที่ 5 : ข่าวที่น่าสนใจตามหน้าหนังสือพิมพ์

สนับสนุนร่างกฎหมาย

ร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ…. (ฉบับประชาชน) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 วันที่ 8 มีนาคม 2554  (แยกเป็นไฟล์มีทั้งหมด 3 ส่วน ดังนี้

ท่านสามารถ Download แบบฟอร์มขอรายชื่อผู้สนับสนุนกฎหมายได้ที่นี่

 

“กาฬสินธ์”ตื่นตัวภัยยาประดง ติดอาวุธให้ความรู้ อสม.ช่วยประชาชน

กาฬสินธ์ ขับเคลื่อน. อสม. นักวิทย์ชุมชน  ตื่นตัวเตือนภัยยาประดงผสมเสตียรอยด์มาก่อนหน้า. ทั้งนี้เมื่อสามปีที่ผ่านมา เมื่อ 7 คค. 2556 กาฬสินธ์เตือนกินยาประดง. เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานความเคลื่อนไหว จังหวัดกาฬสินธ์ ตื่นตัว ยาประดงสผมเสตรียรอยด์ ว่า ล่าสุด รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธ์ นำทีมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธ์ ,  ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ คคส. จัดอบรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ. อสม. เป็น. นักวิทย์คุ้มครองผู้บริโภค

ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มทักษะตรวจสอบสินค้าอันตรายและเตือนภัยให้ชุมชนทราบ เพื่อเป็นทั้ง บุญรักษ์ บุญเสริม และ บุญคุ้ม ในที่นี้คือ . คือ นอกจากรักษาเบื้องต้นด้วยยาสามัญ ทั้งยาปัจจุบันและสมุนไพร (บุญรักษ์) และ (บุญเสริม) เสริมทักษะประชาชนดูแลตนเองด้านออกกำลังกาย อาหารสุขภาพ อนามัยบุคคล แล้ว

อสม. ควรมีทักษะคุ้มครองปู้บริโภค (บุญคุ้ม) โดยใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็น อสม. นักวิทย์ชุมชนคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมีทักษะใช้ชุดทดสอบต่างๆ เตือนภัยในระบบหน้าต่างเตือนภัย และ นำข้อมูลแจ้งเตือนภัยในขุมชน

โดย รองอธิบดีกรมวิทย์ ภก. วรวิทย์. กิตติวงศ์สุนทร. ได้มาเปิดการอบรมและเป็นวิทยากร การอบรมมีสองวัน. คือ 25-26. เมษายน ผู้เข้าอบรมหลัก คือ. อสม และ. เจ้าหน้าที่. รพสต. ประมาณ 500 คน มีความคาดหวังจะทำให้เกิดพลังในชุมชนป้องกันพ่อค้ายาชุดยาเร่ และ ร้านขายของชำขายยาปสมเสตียรอยด์ เครื่องสำอางค์ปลอมปน. และ. อาหารเสริมหลอกลวงอันตราย

 

 

ลิงค์ข่าวที่เกี่ยวข้อง

http://www2.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000125886

http://www.thaihealth.or.th/Content/2655-เตือนผู้บริโภคระวัง%20ยาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง.html

กิจกรรม คคส.เดือนกุมภาพันธ์ 2560

สรุปกิจกรรม คคส.เดือน กุมภาพันธ์ 2560

ผู้บริหาร คคส. รับรางวัลผลงานวิจัย ประจำปี ๒๕๕๙ รางวัลระดับดี 

(2 ก.พ.60) รศ.ดร.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์, ผศ.ภญ.ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ดร.ภญ.รุ่งทิวา หมื่นปา โรงพยาบาลลำปาง และ ดร.ภญ.ยุภาพรรณ มันกระโทก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานวิจัย ประจำปี ๒๕๕๙ รางวัลระดับดี

ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญของสินค้าไม่ปลอดภัยเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค  (The Development of Prioritization Method for Consumer Protection Risk Management of  Unsafe Products)” จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

โดยมี รศ.ดร.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ หัวหน้าโครงการวิจัยได้เข้ารับรางวัลจากรองนายกรัฐมนตรี ณ ศูนย์ประชุมไบเทค

ผลงานวิจัยเรื่องดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์โดยหน่วยงานภาครัฐของกระทรวงสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ดังนี้

1 ใช้วิเคราะห์ค้นหาปัญหาสินค้าไม่ปลอดภัยโดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน องค์กร และภาคประชาชน

2 ส่งเสริมการค้นหาปัญหาที่แท้จริง โดยใช้หลักวิชาการในการคัดเลือก

3 ใช้กำหนดนโยบายและวางแผนแก้ไขปัญหาสินค้าไม่ปลอดภัยอย่างบูรณาการ

4 ใช้วางแผนการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการป้องกัน แก้ไขปัญหา และจัดการความรู้ของหน่วยงาน

5 สร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายของสินค้าต่างๆในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง และนำไปสู่ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

6 สามารถประมวลรวมปัญหาของกลุ่มจังหวัด เพื่อขยายเป็นผลระดับเขตและระดับภาค จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายแก้ไขปัญหาของเขต/ภาค วางแผนและจัดสรรงบประมาณในการคุ้มครองผู้บริโภค

7 ประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานด้านอื่นๆ

 

อบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูหลักสูตรวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน สู่อำเภอจัดการสุขภาพ

(6-7 ม.ค.60) คคส.ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ มูลนิธิสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ จัด “อบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูหลักสูตรวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน สู่อำเภอจัดการสุขภาพ” ณ โรงแรมริชมอนด์ นนทบุรี อ.เมือง จ.นนทบุรี

โดยมีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาและสร้างศักยภาพศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนเพื่อการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง 2) พัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ (ครู ก.) ให้มีความเข้มแข็งเพื่อสร้างเครือข่ายให้กับชุมชนและ รพ.สต.ในพื้นที่ใกล้เคียง ให้สามารถดำเนินงานเฝ้าระวังและตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างมีคุณภาพ และ 3) ขยายผลการใช้ระบบแจ้งเตือนภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ “หน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ” เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 200 คน ประกอบด้วย บุคลากรจากสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ,โรงพยาบาลชุมชน /รพ.สต./ และ สสอ. จำนวน และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ตามคำสั่งคณะทำงานโครงการพัฒนาเครือข่าย

ผลจากการประชุมครั้งนี้นอกจากเป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรแล้ว ยังนำไปสู่การข้อเสนอ “แนวทางการขับเคลื่อนงานสู่อำเภอจัดการสุขภาพ” ของแต่ละเขตสุขภาพ

 

 

10 ปี ซีแอล(CL) และการเข้าถึงยาจำเป็น  

  (17 ม.ค.60) คคส.ร่วมกับศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ จัดประชุม “10 ปี ซีแอล(CL) และการเข้าถึงยาจำเป็น” ณ ห้องประชุม ชั้น 10 อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ

ทั้งนี้เพื่อทบทวนการขับเคลื่อนเพื่อการเข้าถึงยาและการใช้กม.CLครั้งแรกของไทย สื่อสารสังคมถึงความชอบธรรมในการใช้มาตรการตามกฎหมายสิทธิบัตรเพื่อทำให้คนได้เข้าถึงยา และจำทำแนวทางในการทำให้เกิดการเข้าถึงยาและการรักษา ด้วยการทบทวนเครื่องมือเดิม (CL) และมองหาเครื่องมือใหม่ในการส่งเสริมการเข้าถึงยาจำเป็นต่อไป

โดยได้รับเกียรติจาก นพ.มงคล ณ สงขลา เป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 120 คน ผลจากการประชุมนำไปสู่ข้อเสนอในการขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การเข้าถึงยาของประชาชนชาวไทย

 

 

ร่าง พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. … : ใครได้ ใครเสีย

(19 ม.ค.60) คคส.ร่วมกับ วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท.) และคณะอนุกรรมการศึกษาและติดตามกฎหมายฯ สภาเภสัชกรรม จัดเสวนา “ร่าง พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. … : ใครได้ ใครเสีย”

โดยเชิญเภสัชกรในสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่นคุ้มครองผู้บริโภค อุตสาหกรรม บริบาล ชุมชน การศึกษา จำนวน 50 คน ร่วมประชุม เพื่อร่วมศึกษาและให้ความเห็นต่อร่าง พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. … เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

สรุปสาระสำคัญดังนี้ และได้รับเกียรติจาก ภก.วินิต อัศวกิจวีรี นำเสนอ “ร่าง พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. …” จากนั้น เป็นการวิพากษ์ ร่าง พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. …  โดย ผศ.ภญ.สำลี ใจดี ประธานมูลนิธิพัฒนาการแพทย์แผนไทย, นายวราสิทธิ์ กาญจนาสูตร ผู้อำนวยการกองกฎหมายการศึกษาและวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, นายเมธา สิมะวรา นายกสมาคมผู้ผลิตยาสมุนไพร, ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงาน กพย., ผศ.ดร.ภญ.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ รองผู้จัดการแผนงาน คคส.

ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานคณะอนุกรรมการศึกษาและติดตามกฎหมายฯ

จากนั้นช่วงบ่ายเป็นการแบ่งกลุ่มให้ความเห็นต่อร่างกฎหมาย และขณะนี้ ผศ.ดร.ภญ.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมาธิการ พิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว

 

 

เวทีประชาพิจารณ์ต่อร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า

(3 ก.พ.60) รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ เป็นวิทยากรร่วมอภิปรายเรื่อง “ความเป็นมา หลักการ ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า” บนเวทีประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็น ต่อร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า ณ โรงแรมริชมอนด์ นนทบุรี จัดโดย สคบ.โดยมีผู้ร่วมอภิปรายคือ รศ ดร วินัย ดะลันห์ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และ นายธีรวัฒน์ จันทรสมบูรณ์ อณุกรรมการกฏหมายฯสคบ. และนายพัสกร ทัพมงคล นิติกรชำนาญพิเศษ สคบ. ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็น การขับเคลื่อนการปฏิรูประบบคุ้มครองผู้บริโภคที่ต่อเนื่องมาจาก สปช.ซึ่งแผนงานฯ เป็นผู้ร่วมยกร่าง

 

 

นำเสนอผลการศึกษาวิจัยของผู้เข้ารับการอบรมเพื่อสอบหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ

(23-25 ม.ค.60) คคส.ร่วมกับ วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท.) สภาเภสัชกรรม จัดประชุม “นำเสนอผลการศึกษาวิจัยของผู้เข้ารับการอบรมเพื่อสอบหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ (นคบส.) รุ่น 3”

ซึ่งเป็นเภสัชกร ที่ทำงานในหน่วยงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ จำนวน 25 คน นำเสนอผลการศึกษา จำนวน 25 ชิ้น ใน 3 สาขา ได้แก่ นโยบายด้านยาและสุขภาพ, การบังคับใช้กฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และ ระบาดวิทยาเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

กิจกรรม คคส.เดือนธันวาคม 2559-เดือนมกราคม 2560

สรุปกิจกรรม คคส.เดือน ธันวาคม-มกราคม 2559-2560

(21-23 ธ.ค.59) แผนงานฯ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะทำงานพัฒนาข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วยคุณภาพของน้ำดื่มที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน ร่วมประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 พ.ศ.2559 ณ อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี ซึ่งที่ประขุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีมติรับรองข้อเสนอดังกล่าว

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9

 

(10 ม.ค.60) จัดประชุมวิชาการเภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภค สถานการณ์ กฎหมายและนโยบายปัจจุบัน ณ โรงแรมลายทอง จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์ กฎหมายและนโยบายปัจจุบัน ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับเกียรติจากคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นประธานเปิดประชุม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นเภสัชกรที่ทำงานคุ้มครองผู้บริโภคจำนวน 100 คน

ประชุมวิชาการเภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภค สถานการณ์ กฎหมายและนโยบายปัจจุบัน

 

(17 ม.ค.60) คคส.ร่วมกับศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ จัดประชุม “10 ปี ซีแอล(CL) และการเข้าถึงยาจำเป็น” ณ ห้องประชุม ชั้น 10 อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อทบทวนการขับเคลื่อนเพื่อการเข้าถึงยาและการใช้กม.CLครั้งแรกของไทย สื่อสารสังคมถึงความชอบธรรมในการใช้มาตรการตามกฎหมายสิทธิบัตรเพื่อทำให้คนได้เข้าถึงยา และจำทำแนวทางในการทำให้เกิดการเข้าถึงยาและการรักษา ด้วยการทบทวนเครื่องมือเดิม (CL) และมองหาเครื่องมือใหม่ในการส่งเสริมการเข้าถึงยาจำเป็นต่อไปโดยได้รับเกียรติจาก นพ.มงคล ณ สงขลา เป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 120 คน ผลจากการประชุมนำไปสู่ข้อเสนอในการขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การเข้าถึงยาของประชาชนชาวไทย

10 ปี ซีแอล(CL) และการเข้าถึงยาจำเป็น

กิจกรรม คคส.เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

สรุปกิจกรรม คคส.เดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

 

ศึกษาดูงานน้ำมันทอดซ้ำเกาะสีชัง

คณะกรรมการกำกับยุทธศาสตร์และภาคีขับเคลื่อนโครงการฯ

ตัวแทนผู้ประกอบการร้านอาหารที่ร่วมโครงการฯ โดยรวบรวมน้ำมันทอดที่ใช้แล้วให้สถาบัน

ผู้ประกอบการร้านอาหารนำน้ำมันทอดที่ใช้แลวมาส่งให้ อสม.ซึ่งเป็นจุดรวมก่อน ก่อนนำไปหน่วยผลิตไบโอดีเซลในสถาบันวิจัย

เครื่องผลิตไบโอดีเซล

(10-12 ธ.ค.59) คณะกรรมการประสานยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพและการพัฒนาระบบยาศึกษาดูงานน้ำมันทอดซ้ำเกาะสีชังและโครงการจุฬาฯสร้างสรรค์สีชังยั่งยืน ณ ศูนย์ฝึกอบรมสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ นำเสนอผลการดำเนินการ

1) โครงการสำรวจสถานการณ์การใช้น้ำมันทอดซ้ำและแนวทางการจัดการ กรณีพื้นที่เกาะสีชังจังหวัดชลบุรี ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนจากแผนงาน คคส.

2) โครงการผลิตไบโอดีเซลชุมชนเกาะสีชังจากน้ำมันใช้แล้ว: สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ

3) โครงการผลิตไบโอดีเซลชุมชนเกาะสีชังจากน้ำมันใช้แล้ว ระยะที่ 2 ภายใต้ชุดโครงการ “จุฬาสร้างสรรค์  สีชังยั่งยืน” ระหว่างปี 2558-2559 สนับสนุนโดยจุฬาฯ ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อยอดจากโครงการแรก และในปี 2560 มีแผนการดำเนินการเพื่อขยายและต่อยอดผลสำเร็จ ผ่าน

4) โครงการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล จากน้ำมันพืชทอดซ้ำ
ในขั้นตอนการขยายเครือข่ายและผลิต

5) โครงการจิตอาสาทำความดีตามรอยพ่อ: ต้นแบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัย ภายใต้ “ชุดโครงการทำดีเพื่อพ่อ”

จากนั้น นพ.วิชัย โชควิวัฒน ให้เกียรติเป็นผู้แทนคณะกรรมการ มอบของที่ระลึกให้กับภาคีเครือข่ายที่ร่วมขับเคลิ่อนโครงการ ได้แก่ เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยฯ, ผู้ประกอบการร้านอาหาร, อสม.,

นอกจากนี้ได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิบการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายเรื่อง Chulalongkorn University Social Engagement และ แนวทางการขับเคลื่อนต่อใน 4 ปีข้างหน้า จากนั้นที่ประชุมร่วมแลกเปลี่ยนและให้ข้อคิดเห็น

 

แถลงข่าวการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9

 (23 พ.ย.59) แผนงานฯ ร่วมแถลงข่าวการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 พ.ศ.2559 : ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่ธรรมนูญระบบสุขภาพ และสุขภาวะที่ยั่งยืน ณ โถงหน้าห้องประชุมสานใจ ชั้น 6 อาคารสุขภาพแห่งชาติโดย ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร รองประธานคณะทำงานพัฒนาข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วยคุณภาพของน้ำดื่มที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน ร่วมแถลงข่าวในระเบียบวาระน้ำดื่มปลอดภัยสำหรับประชาชน

 

นำเสนอร่างมติและรับฟังในเวทีเตรียมความพร้อมกลุ่มเครือข่ายสำหรับการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 9 

              (24 พ.ย.59) แผนงานฯ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะทำงานพัฒนาข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วยคุณภาพของน้ำดื่มที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน นำเสนอร่างมติและรับฟังในเวทีเตรียมความพร้อมกลุ่มเครือข่ายสำหรับการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 9 พ.ค.59 ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

 

แนวทางการจัดการปัญหาการจัดฟันแฟชั่น

 (25 พ.ย.59) จัดประชุม เรื่อง แนวทางการจัดการปัญหาการจัดฟันแฟชั่น เพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคประเด็นการจัดฟันแฟชั่น โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 30 คนประกอบด้วย ผู้แทนคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ทันตแพทยสภา, ทันตแพทย์ และเภสัชกรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด, ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, ผู้แทนกองเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, บก.ปคบ. ผลจัดการประชุมนำไปสู่การจัดเวทีวิชาการเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย และแนวทางการบังคับใช้กฎหมายร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจะมีการจัดเวทีวิชาการระหว่างทันตแพทย์และเภสัชกรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในเดือนมีนาคม 2560

 

วคบท. ศึกษาดูงานรายวิชาระบาดวิทยาเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

(30 พ.ย.-2 ธ.ค.59) ร่วมกับ วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท.) สภาเภสัชกรรม จัดศึกษาดูงานรายวิชาระบาดวิทยาเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคให้กับผู้เข้ารับการอบรมเพื่อสอบหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ (นคบส.) รุ่น 3 ซึ่งเป็นเภสัชกร ที่ทำงานในหน่วยงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ จำนวน 10 คน ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา และด่านศุลกากรสะเดา จังหวัดสงขลา

 

องค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นสูง จ.ลำพูน

        (6 ธ.ค 59) ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูนจัดประชุมแนะนำเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นสูง ณ โรงแรมลำพูนวิลล์ จ.ลำพูน มีองค์กรฯที่สนใจจะพัฒนาตนเองให้เป็นองค์กรคุณภาพขั้นสูงเข้าร่วมจำนวน 4 องค์กร ซึ่งได้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจในเกณฑ์ข้อต่างๆทั้ง 19 ข้อและได้ทดลองประเมินตนเองผ่านระบบออนไลน์ ภายหลังจากการประชุมทั้ง 4 องค์กร ดำเนินการประเมินตนเองในแบบรูปเล่มเอกสาร และส่งเอกสารมายัง สสจ.ลำพูนภายในวันที่ 31 ม.ค.60 จากนั้นเมื่อแผนงาน คคส.ได้รับข้อมูลและทำการตรวจสอบแล้วจะแจ้งผลการตรวจสอบของแต่ละองค์กรกลับไปภายในวันที่ 15 ก.พ.60 และดำเนินการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมพร้อมรับฟังนำเสนอของแต่ละองค์กรให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.พ.60 และจัดกิจกรรมเชื่อมประสานองค์กรมอบใบประกาศรับรองช่วงเดือน มี.ค.60

 

ประชุมสร้างเครือข่ายป้องกันภัยจากแร่ใยหินจังหวัดลำพูน

(7 ธ.ค.59) ร่วมกับกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน จัดประชุมสร้างเครือข่ายป้องกันภัยจากแร่ใยหินจังหวัดลำพูน “หละปูนฮ่วมใจ๋ ไร้แร่ใยหิน” ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยมีนายมนัส อ่ำทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม และเยี่ยมชมนิทรรศการภายในงานผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนเทศบาล อบต. กำนันส่วนราชการ สื่อมวลชน องค์กรผู้บริโภค  ภาคประชาชน  ผู้รับเหมาก่อสร้าง ช่างซ่อมรถ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้อง รวม 250 คน โดยคาดหวังว่า เครือข่ายจะนำข้อมูลที่ได้รับไปรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และออกมาตรการเพื่อป้องกันภัยจากแร่ใยหินต่อไป

 

กิจกรรม คคส.เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2559

สรุปกิจกรรม คคส.เดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน 2559

 

 ประชุม The South East Asia Ban Asbestos Network (SEA-BAN) Meeting

(2-3 พ.ย. 59) รศ.ดร.วิทยา  กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงาน คคส.เข้าร่วมประชุม The South East Asia Ban Asbestos Network (SEA-BAN) Meeting และนำเสนอหัวข้อ Country report backs: situation analysis, industry mapping, campaigning ของประเทศไทย ผลจากการประชุมนำไปสู่เครือข่ายการทำงานประเด็นแร่ใยหินระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

    ประชุมแนวทางการขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภค

ภายใต้โครงการพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภค ถึงเวลาคนไทย “ไร้แร่ใยหิน

 (22 ต.ค.59) รศ.ดร.วิทยา  กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงาน คคส.เป็นวิทยากรในการประชุมแนวทางการขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภคภายใต้โครงการพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภค ถึงเวลาคนไทย “ไร้แร่ใยหิน” 5 จังหวักภาคเหนือ  (เชียงราย พะเยา ลำปาง พิจิตร กำแพงเพชร) ณ โรงแรมการ์เด้นวิวรีสอร์ท จ.เชียงราย และนำเสนอเรื่อง องค์กรผู้บริโภคกับการขับเคลื่อนให้ท้องถิ่นมีข้อบัญญัติปกป้อง อันตรายต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 30 คน

 

อบรมหลักสูตรพัฒนาผู้นำการจัดการเพื่อผู้บริโภค รุ่นที่ 3 ครั้งที่ 3

(19-21 ต.ค.59)  จัดอบรมหลักสูตรพัฒนาผู้นำการจัดการเพื่อผู้บริโภค รุ่นที่ 3 ครั้งที่ 3 ณ ปทุมวัน โรงแรมเอเชีย ราชเทวี กรุงเทพฯ เพื่อพัฒนาและเสริมศักยภาพบุคคลซึ่งเป็นแกนนำในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพให้มีความรู้ทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคในด้านสุขภาพและสร้างบุคลากรให้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ  หลักสูตรนี้มีผู้เข้าอบรมจำนวน 24  คน ประกอบด้วย ภาคประชาชน, ภาควิชาการ, ภาครัฐ และภาคท้องถิ่น ซึ่งมาจาก 7 จังหวัด ซึ่งผู้อบรม ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติ (work shop) ในหัวข้อต่างๆ ได้แก่ การฝึกปฏิบัติกรณีศึกษาการโฆษณาไม่เหมาะสม ทางวิทยุ โทรทัศน์ และ อินเตอร์เนท, กระบวนการบทบาทสมมุติในการจัดการปัญหาคุ้มครองผู้บริโภคแบบเครือข่าย, และการฝึกปฏิบัติการถอดบทเรียนการทำงานในพื้นที่ของผู้อบรม นอกจากนี้ผู้เข้ารับการอบรม ได้นำเสนอความก้าวหน้าโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพเพื่อจัดการปัญหาในพื้นที่จำนวน 7 โครงการ และแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาการดำเนินโครงการเพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย

ความชำนาญการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

(10 – 12 ตุลาคม 2559) คคส.ร่วมกับ วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท.) สภาเภสัชกรรม จัดประชุมอบรมให้กับผู้เข้ารับการอบรมเพื่อสอบหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ (นคบส.) รุ่น 3

ซึ่งเป็นเภสัชกร ที่ทำงานในหน่วยงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ จำนวน 10 คน ณ ห้องประชุม 210 อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ในสาขาความชำนาญการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมจะทำการศึกษาวิจัยในประเด็นที่อบรม และนำเสนอในเดือนมกรคม 2560 ต่อไป

 

รองผู้จัดการ คคส. รับรางวัล

รองผู้จัดการ คคส. รับรางวัล

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงโปรดให้ ท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช เป็นผู้แทนพระองค์ ในงาน “วันหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก” งานสร้างเสริมคนดีมีคุณธรรม ครั้งที่ ๓๑ วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙

ในการนี้ ผศ.ภญ.ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ รองผู้จัดการแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาฯ-สสส. เข้ารับโล่เกียรติคุณ “หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร” และเข็มเชิดชูเกียรติ (ทองคำ) “อ.อุดมศึกษาดีเด่น” รางวัลสำหรับอาจารย์ระดับอุดมศึกษาผู้ทรงคุณธรรม มีผลงานดีเด่นในการพัฒนาคุณธรรม และจริยธรรมของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา 

กิจกรรม คคส.เดือนกันยายน-ตุลาคม 2559


สรุปกิจกรรม คคส.เดือน กันยายน-ตุลาคม 2559
 

 


 ประชุมพืชกระท่อมและกัญชา เพื่อความมั่นคงด้านยาและสุขภาพของสังคมไทย

(27 ก.ย.59)  คคส.ร่วมกับ แผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ โครงการศึกษาทบทวนมาตรการทางกฎหมายเพื่อการจัดการพืชกระท่อม มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา (มสพ.) และ มูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม (มภส.) จัดประชุมวิชาการเรื่องพืชกระท่อมและกัญชา เพื่อความมั่นคงด้านยาและสุขภาพของสังคมไทย ณ ห้องประชุมสารนิเทศ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพื่อประมวลผลการศึกษามาตรการทางกฎหมายและการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ข
องพืชกระท่อมและกัญชา และระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการพืชกระท่อมและกัญชา เพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์ สังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิต เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข
  กฎหมาย และความมั่นคงด้านยาและสุขภาพของสังคมไทย

ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง แพทย์ เภสัชกร นักกฎหมาย นักวิชาการ และภาคประชาสังคม จำนวน 70 คน ผลจากการประชุมนำไปสู่การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป

ประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพของน้ำดื่มที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน

(3 ต.ค.59) ประชุมคณะทำงานพัฒนาข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วยคุณภาพของน้ำดื่มที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน ครั้งที่ 5/2559 และ ณ ห้องประชุม 210 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อปรับร่างข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วยคุณภาพของน้ำดื่มที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน เสนอสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปีพ.ศ. 2559 ซึ่ง ผศ.ดร.วรรณ ศรีวิริยานุภาพ รองผู้จัดการแผนงานฯ เป็นเลขานุการและคณะทำงาน ผลจากการประชุมนำไปสู่ร่างการจัดทำข้อเสนอฯ และนำเสนอคณะอนุกรรมการวิชาการ คสช.ในวันที่ 6 ต.ค.59 ต่อไป

อบรมเพื่อสอบหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

(24-25 ก.ย.59 และ 5-7 ต.ค.59) คคส.ร่วมกับ วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท.) สภาเภสัชกรรม จัดประชุมอบรมให้กับผู้เข้ารับการอบรมเพื่อสอบหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ (นคบส.) รุ่น 3

ซึ่งเป็นเภสัชกร ที่ทำงานในหน่วยงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ จำนวน 20 คน ณ ห้องประชุม 210 อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ใน 2 สาขา ได้แก่ ความชำนาญด้านการนโยบายและการบริหารระบบยาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และความชำนาญทางระบาด

กิจกรรม คคส.เดือนสิงหาคม-กันยายน 2559

สรุปกิจกรรม คคส.เดือน สิงหาคม-กันยายน 2559

ประชุมวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ประจำปี 2559

  (2 ก.ย.59) ร่วมกับ วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท.) สภาเภสัชกรรม จัดประชุมวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ประจำปี 2559 ณ ห้องกินนรี 1 โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพมหานครฯ เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ และเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นเพื่อพัฒนาความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการเภสัชกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพร่วมกัน ร่วมทั้งเป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณชนให้ได้รับทราบ อันจะนำไปสู่การพัฒนาผลงานวิจัยให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ซึ่งในการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 90 คน ประกอบด้วยเภสัชกรที่ทำงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จากหน่วยงานต่างๆ ในการประชุมนำเสนอประเด็น กรณีศึกษาอาหารและยาไม่ปลอดภัยและแนวทางการจัดการปัญหา: ยาตราพญานาค, กรณีศึกษาอาหารและยาไม่ปลอดภัยและแนวทางการจัดการปัญหา: น้ำดื่มปลอดภัยสำหรับประชาชน ฐานข้อมูลเพื่อการแจ้งเตือนภัยและจัดการอาหารและยาที่ไม่ปลอดภัย และ ทิศทางการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ

ประชุม Conference Future Challenges for Asbestos Policy in Thailand 

(25 ส.ค.59)  ประชุม Conference Future Challenges for Asbestos Policy in Thailand  เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์เกี่ยวกับแร่ใยหินไครโซไทล์

ในการประชุมนี้มีการนำเสนอเรื่อง Future Challenges for Asbestos Policy  in the Construction Industry โดย Professor .Kazuhiko Ishihara, Ritsumeikan Univetsity, สถานการณ์ปัจจุบันของแร่ใยหินไครโซไทล์ โดย ศ.ดร.นพ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มาตรการควบคุมการรื้อถอนและซ่อมแซมอาคารที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ โดย รศ.ดร.วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และการจัดการปัญหาของประชาชนในระดับพื้นที่กรณีตัวอย่าง เทศบาลตำบลแม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย โดย รศ.ภก.ดร.วิทยา  กุลสมบูรณ์ แผนงาน คคส.

ผลจากการประชุมจะนำมาใช้ในการดำเนินการจัดการสินค้าไม่ปลอดภัยประเด็นแร่ใยหินของประเทศไทยต่อไป

ประชุมพิจารณาแนวทางการบูรณาการแก้ปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมคุณภาพตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ

            (5 ก.ย. 59) ประชุมพิจารณาแนวทางการบูรณาการแก้ปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมคุณภาพตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ: ร่างเทศบัญญัติควบคุมกิจการผลิตน้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ  ณ ห้องประชุม 210 ชั้น 2 อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฯ

โดย ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร เป็นประธาน และเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญไม่ปลอดภัย

ที่ประชุมได้พิจารณาปรับปรุงร่างเทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติ เรื่อง ควบคุมกิจการผลิตน้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ และมอบหมายให้ คคส.ในฐานะฝ่ายเลขานุการดำเนินการ ปรับร่างเทศบัญญัติควบคุมกิจการผลิตน้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ พ.ศ. …. ให้เป็นไปตามมติที่ประชุม และ เสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

 

ประชุมคณะทำงานพัฒนาข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วยคุณภาพของน้ำดื่มที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน

         (12 ก.ย.59) ประชุมคณะทำงานพัฒนาข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วยคุณภาพของน้ำดื่มที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน ครั้งที่ 4/2559 ณ ห้องประชุม 208 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อพิจารณาร่างข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วยคุณภาพของน้ำดื่มที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน เสนอต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปีพ.ศ. 2559

ซึ่ง ผศ.ดร.วรรณ ศรีวิริยานุภาพ รองผู้จัดการแผนงานฯ เป็นเลขานุการ และ ผู้จัดการแผนงานฯ เป็นคณะทำงาน ร่างข้อเสนอฯ นี้จะเสนอต่อคณะอนุกรรมการวิชาการ คสช.ในวันที่ 14 ก.ย.59 ต่อไป